วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การป้องกันอัคคีภัย

        “ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน” หมายความว่า การกระทํา หรือสภาพการทํางานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทํางานหรือเกี่ยวกับการทeงาน
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทeงาน พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกบัการป้องกันและระงับอัคคีภัย ได้กำหนดให้สถาน ประกอบกิจการที่มีลูกจ้า ตั้งแต่ 10 คนข้ึนไป นายจ้างต้องจัดให้มีแผนป้องกันและระงัอัคคีภัยใน สถานประกอบกิจการประกอบด้วย การตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การ ดับเพลิง การอพยพหนีไฟ และการบรรเทาทุกข์โดยให้นายจ้างจัดเก็บแผนป้องกัน และระงับ อัคคีภัย เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพยส์ินจากอัคคีภัย สร้างความมั่นใจในเรื่อง ความปลอดภัยต่อพนักงาน กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ลดอัตราการเสียงต่อการเกิดเหตุอัคคีภัย และ สร้างทัศนคติที่ดีต่อพนักงานในสถานประกอบการ ณ สถานประกอบกิจการพร้อมที่จะให้ พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ การบริหารจัดการอาคารให้ปลอดภัยจากอัคคีภัยอาจ
                แผนการตรวจตรา
               การตรวจตราการอบรม
               การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย
               การดับเพลิง
               การอพยพหนีไฟ
               และการบรรเทาทุกข์โดยให้นายจ้างจัดเก็บแผนป้องกันและระงับ อัคคีภัย เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพยส์ินจากอัคคีภัย สร้างความมั่นใจในเรื่อง ความปลอดภัยต่อพนักงานกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ลดอัตราการเสียงต่อการเกิดเหตุอัคคีภัย และ สร้างทัศนคติที่ดีต่อพนักงานในสถานประกอบการ ณ สถานประกอบกิจการพร้อมที่จะให้ พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ การบริหารจัดการอาคารให้ปลอดภัยจากอัคคีภัยอาจ แบ่งแผนระงับเหตุและป้องกัน
 แผนการตรวจตรา
               เป็ นแผนการสำรวจความเสี่ยงและตรวจตรา เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและขจัดต้น เหตุของการ เกิดเพลิงไหม้ก่อนจัดทำแผนควรมีข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช้ือเพลิง สารเคมีสารไวไฟ ระบบ ไฟฟ้า จุดที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และต้องมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ คุณสมบตัิ ลักษณะการลุกไหม้ ปริมาณของสารอันตราที่มีอยู่สูงสุด ชนิดของสารดับเพลิงและปริมาณที่ตีอง ใช้และการออกแบบและการก่อสร้างที่ถูกต้องแล้วของระบบความปลอดภัยจากอัคคีภัยประจ ำ อาคารโดยหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ หรือบุคคลากรที่ได้ร้ับการอบรมฝึกฝน การตรวจสอบระบบ ดังกล่าวต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง รายงานต่อผู้บริหารอาคารได้ทราบถึงสถานภาพความพร้อมของ ระบบ เพื่อที่จะสามารถรักษาระดับความปลอดภัยของอาคารมิให้เสื่อมถอยลง เพื่อประกอบการ วางแผน และ ควรมีการกำหนดบุคคล พื้นที่ที่รับผิดชอบ หัวข้อและจุดที่ต้องตรวจ ระยะเวลา ความถี่ผู้ตรวจสอบรายงาน การส่งรายงานผลการแจ้งข้อบกพร่องในการตรวจตราที่ชัดเจน

แผนการอบรม


           เป็นการอบรมให้ความรู้กับพนักงานทั้งในเชิงป้องกันและการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งการเกิดอัคคีภัยภายในสถานประกอบการ  ย่อมน ามาซึ่งความสูญเสียต่อธุรกิจการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเสียหาย การผลิต การบริการหยุดชะงัก เสียโอกาสการขาย หรืออาจถึงขั้นมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ดังนั้นในการป้องกันและลดความเสี่ยงด้านการเกิดอัคคีภัย  จึงจ าเป็นต้องจัดให้มีแผนการอบรม  โดยก าหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาด าเนินการและงบประมาณให้ชัดเจน

แผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย 

เป็นแผนเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบการ โดยเป็นการสร้างความสนใจ  และส่งเสริมในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยให้เกิดขึ้นในทุกระดับของพนักงานในแผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัยควรก าหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาด าเนินการ และงบประมาณให้ชัดเจน


แผนการดับเพลิง 

            เป็นการจัดทำแผนการด าเนินการขั้นตอนการดับเพลิง โดยเริ่มตั้งแต่พนักงาน หรือ เครื่องมือตรวจจับพบเหตุการณ์เพลิงไหม้  การอพยพผู้ใช้อาคาร การผจญเพลิง จนกระทั่งเพลิงไหม้สิ้นสุด และการจัดแผนงานบริหารคณะท างาน ผู้รับผิดชอบหรือผู้มีอ านาจสั่งการ ขององค์กร


แผนอพยพหนีไฟ 

          กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน และของสถานประกอบการในขณะเกิดเพลิงเหตุไหม้ แผนอพยพหนีไฟที่กำหนดขึ้นนั้น มีองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น หน่วยตรวจสอบจำนวนพนักงาน, ผู้นำทางหนีไฟจุดนัดพบหน่วยช่วยชีวิต  และยานพาหนะ  ฯลฯ  ควรได้กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละ หน่วยงานโดยขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการอพยพหนีไฟหรือผู้อ านวยการดับเพลิง

แผนบรรเทาทุกข์

          มุ่งเน้นที่การประเมินความเสียหาย และการติดต่อประสานงานในพื้นที่เพื่อให้ได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการยังชีพ ไปยังหน่วยบรรเทาสาธารณภัยของทางการและที่เป็นสากล อาทิ การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ  การสำรวจความเสียหาย   การช่วยชีวิตและขุดค้นหาผู้เสียชีวิต  การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ทรัพย์สินและผู้เสียชีวิต  การประเมินความเสียหาย ผลการปฏิบัติงานและรายงานสถานการณ์เพลิงไหม้  การช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัย และ การปรับปรุงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้โดยเร็วที่สุด

มาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัย

             เพื่อใช้ประกอบกับมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ซึ่งใช้ในการเชื่อมโยงไปยังมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัย ท าให้การออกแบบและก่อสร้างอาคารมีความสมบูรณ์และน าไปสู่ความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สิน ความต่อเนื่องทางธุรกิจ และสิ่งแวดล้อม ระบบป้องกันอัคคีภัยที่ จะมุ่งเน้นมาตรการที่จ าเป็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคอื่นๆ 

ความปลอดภัยข้างต้นไม่เพียงเฉพาะปฏิบัติตามข้อก าหนดต่างๆ ที่ระบุหรือมาตรฐานที่ถูกเชื่อมโยงเท่านั้น การดูแลรักษาอุปกรณ์ การทดสอบ การตรวจสอบอย่างสม ่าเสมอจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  ส่วนการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร ประเภทอาคาร รวมทั้งการดัดแปลงผังภายในอาคาร จะต้องท าการตรวจสอบ เปลี่ยนแปลง และค านวณรายละเอียดทางวิศวกรรมใหม่ให้สอดคล้องกับข้อก าหนด  และระบบป้องกันอัคคีภัยครอบคลุมเฉพาะระบบไฟฟ้าและเครื่องกลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัย  มาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยประกอบ ดังนี้

1) ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
2) ระบบป้องกันฟ้าผ่า
3) ลิฟต์พนักงานดับเพลิง
4) ระบบสื่อสารฉุกเฉิน
5) ระบบไฟฟ้าส ารองฉุกเฉิน
6) ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
7) ระบบควบคุมควันไฟ
8) ศูนย์สั่งการดับเพลิง
9) เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ และอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย
มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยส าหรับโรงงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การก่อการร้ายทางนิวเคลียร์และรังสี

การกำหนดภัยคุกคาม การยึดอาวุธนิวเคลียร์แบบไม่บุบสลาย ผู้เชี่ยวชาญมักจำแนกการก่อการร้ายด้วยอาวุธนิวเคลียร์และรังสีออกเป็นภัยคุกคามสี่ปร...