วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2561


การเกิดของไฟ


ไฟเกิดจากการรวมตัวขององค์ประกอบ 3 ประการ ที่รวมตัวกันจนได้สัดส่วน
1.เชื้อเพลิง (FUEL) คือสิ่งที่ติดไฟและลุกไหม้ได้
2.ความร้อน (HEAT) คือ ความร้อนที่เหมาะสมและเพียงพอ สามารถทำอุณหภูมิสูงจนทำให้สารเชื้อเพลิงจุดติดไฟ เช่น สะเก็ดไฟ ลูกไฟจากการเชื่อม เครื่องจักรร้อน ไฟฟ้าช็อต เปลวไฟ บุหรี่ ฟ้าผ่า ฯลฯ
3.อากาศ (OXYGEN) ในบรรยากาศทั่วไปมีออกซิเจน ประมาณ 21 % อยู่แล้ว ซึ่งสามารถทำให้ช่วยติดไฟได้



การแบ่งประเภทของไฟตามมาตรฐาน NFPA-1 มี 4 ประเภท คือ

Class A ไฟที่ไหม้ประเภท กระดาษ หญ้า เศษไม้ ที่นอน หมอน


วิธีดับไฟและอุปกรณ์ดับไฟ Class A การดับไฟคราส ประเภทนี้ ต้องลดอุณภูมิ ไฟประเภทนี้สามารถใช้น้ำดับได้

Class B ไฟไหม้ประเภทสารไวไฟ เช่น น้ำมัน ยางมะตอย สารเหลวไวไฟ


วิธีดับไฟและอุปกรณ์ดับไฟ Class B ถ้าสามารถทำให้อับอากาศได้ก็ควรทำเป็นดันดับแรก หากทำไมได้ สามารถใช้โฟมคลุมหรือต้องดูประเภทของสารเคมี ว่า สามารถใช้ผงเคมี ดับได้หรือไหม

Class C ไฟไหม้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ ถ้าอุปกรณ์ตัวนั้นไม่มีกระแสไฟฟ้าจะกลายเป็น Class A

วิธีดับไฟและอุปกรณ์ดับไฟ Class C อันดับแรกต้องทำการตัดไฟฟ้าออกจากสถานที่เกิดไฟไหมเป็นอันดับแรก หากเป็นไปได้หลีกเลี่ยงการใช้น้ำดับไฟประเภทนี้เด็ดขาดอาจทำให้ ควรใช้ ก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์

Class D ไฟไหม้ประเภทวัตถุของแข็งหรือโลหะไวไฟ เช่น แมกนีเซียม ไตตาเนียม สำหรับแมกนีเซียมห้ามใช้น้ำดับเด้ดขาด ต้องใช้เกลือแกงหรือทราย เป็นต้น

วิธีดับไฟและอุปกรณ์ดับไฟ Class D ไฟประเภทนี้จะดับอยากที่สุดเพราะหากใช้อุปกรณ์ดับผิดประเภทสามารถทำปฎิกิริยาลูกโซ่ ทำให้เกิดการระเบิดได้ การดับไฟประเภทนี้ ทางที่ดีที่สุดทำให้อับอากาศ หรือศึกษาข้อมูลว่าของแข็งหรือสารเคมีที่ติดไฟเป็นอะไรเพื่อใช้สาร เคมีเฉพาะในการดับไฟชนิดนั้นๆ

และอีกประเภท ที่เป็นไฟประเภทที่ยังไม่มีผู้คนให้ความสนใจมากนักไฟประเภทนี้เป็นสารเคมีเหมือน กัน คือ

 ฉด
Class K  
  Cooking Oil
 หรือ น้ำมันทำครัวที่ติดไฟ เช่นน้ำมัน ปาล์ม เพราะน้ำมันชนิดนี้ถือว่าอยู่เป็นสารเคมีชนิดนึง ที่ติดไฟได้และดับได้ยากหากเกิดการติดไฟ  

วิธีดับไฟและอุปกรณ์ดับไฟ Class K คือการทำให้อับอากาศ หากไม่สามารถทำได้ ต้องทำการใช้ โฟมหรือทราย ในการดับไฟ

วิธีการใช้ถังดับเพลิง
1.เข้าไปทางเหนือลมโดยห่างจากฐานของไฟประมาณ  2 - 3  เมตร
2.ดึงสลักหรือลวดที่รั้งวาล์วออก
3.ยกหัวฉีดปากกลวยชี้ไปที่ฐานของไฟ  ( ทำมุมประมาณ  45  องศา )
4.บีบไกเพื่อเปิดวาล์วให้ก๊าซพุ่งออกมา
5.ให้ฉีดไปตามทางยาว  และกราดหัวฉีดไปช้า ๆ
6.ดับให้สนิทจนแน่ใจแล้ว จึงฉีดต่อไปข้างหน้า
ในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้วางอยู่ในระดับต่างกัน  ให้ฉีดจากข้างล่างไปหาข้างบน  และถ้าน้ำมันรั่วไหลให้ฉีดจากปลายทางที่รั่วไหลไปยังจุดที่รั่วไหล  และเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่  ต้องรีบตัดกระแสไฟฟ้าก่อน  เพื่อป้องกันมิให้เกิดการลุกไหม้ขึ้นมาอีกได้


การสังเกตุเครื่องดับเพลิงให้มีสภาพพร้อมใช้งาน




สิ่งที่ควรปฏิบัติเพื่อเอาชีวิตรอดจากเพลิงไหม้ในบ้าน
1.รีบออกจากบ้านทันที อย่าลังเล
2.ถ้าต้องฝ่าควันเพื่อหนีไฟ ให้ก้มตัวลงต่ำ หรือใช้คลานเพราะอากาศใกล้พื้นมีมากกว่าด้านบน
3.หายใจสั้นๆ 
4.ก่อนหนีไฟ ให้แน่ใจว่าเด็กๆ สามารถเปิดประตู หน้าต่างได้ ถ้ามีควันที่บันไดและทางเดินมาก ให้ใช้บันไดหนีไฟ
5.ให้ทุกคนในบ้านรู้เส้นทางที่หนีไฟเร็วที่สุด และควรวางไฟฉายไว้ข้างเตียงเสมอ เพื่อใช้ส่องทางหนีไฟในความมืด
6.ฝึกการหนีไฟให้คนในบ้านเป็นประจำ โดยเฉพาะเด็กๆ 
7.ถ้าติดอยู่ในห้อง และมีควันมาก ให้คลานมาที่หน้าต่างและตะโกนขอความช่วยเหลือ หายใจเอาอากาศบริสุทธิ์
8.ใช้มือแตะประตูทุกบานก่อนเปิด ถ้าบานไหนร้อนอย่าเปิด เพราะมีไฟอยู่ 
9.ถ้าหนีออกไปไม่ได้ ให้ยืนหลังประตูที่ปิดอยู่ และให้เปิดหน้าต่างบานบนเพื่อไล่ควันและความร้อน
10.ถ้าไม่แน่ใจอย่าพยายามดับไฟ ให้หนีเอาตัวรอดก่อน
11.อย่าหนีไฟด้วยการกระโดดตึก เพราะอาจเสียชีวิตได้



แหล่งข้อมูล http://www.m2j.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Id=2147488247&Ntype=1

ประเภทของไฟ

ประเภทของไฟ
         ไฟประเภท A คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็งเช่น ไม้, กระดาษ, เสื้อผ้า, พลาสติก ฯลฯ
          ไฟประเภท B คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นของเหลว เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟ/ไม่ไวไฟและก๊าซ
          ไฟประเภทCคือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง มีกระแสไฟฟ้าไหลอยู่ เช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าทุก
ชนิด และ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
          ไฟประเภท D คือไฟที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นสารเคมีเช่น ผงแมกนีเซียม, อลูมิเนียมและโลหะที่ให้ความร้อนสูง(ห้ามใช้น้ำดับเป็นอันขาด)
ชนิดของเครื่องดับเพลิง
          เครื่อง ดับเพลิงที่มีจำหน่ายในท้องตลาดจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท (class) โดยจำแนกตาม
ลักษณะของการเกิดเพลิงไหม้ที่ได้กล่าวมาแล้ว และจะต้องระบุประเภทของเครื่องดับเพลิงไว้บน
ตัวถังเครื่องอย่าง ชัดเจน เป็นตัวอักษร A B C D
         A หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากวัสดุทั่วไป เช่น ไม้ กระดาษ ผ้า
เป็นต้น
         B หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิง หรือของเหลวที่
ไวไฟ
        C หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากการลุกไหม้ของอุปกรณ์ไฟฟ้า
ต่างๆ เนื่องจากตัวสารเคมีที่ใช้จะไม่นำไฟฟ้า
        D หมายถึงเครื่องดับเพลิงที่เหมาะสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากโลหะที่ติดไฟได้
ปัจจุบัน นี้ ได้มีการผลิตเครื่องดับเพลิงที่สามารถดับเพลิงได้หลายประเภท ดังนั้น เราอาจเห็นถัง
ดับเพลิงที่ติดป้าย A-B หรือ B-C หรือแม้แต่ A-B-C ได้นอกจากนี้ เครื่องดับเพลิงยังแบ่งเป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสารที่บรรจุไว้ในถัง
        1. ผงเคมีแหง้ เป็นผงสารเคมีที่ถูกบรรจุอยู่ในถังที่อัดก๊าซที่ไม่ติดไฟไว้ เมื่อกดปุ่ม ก๊าซก็จะผลักดัน
ให้ผง เคมีออกจากถัง
        2.ฮาลอน(Halon) เป็น สารดับเพลิงที่มีลักษณะเป็นก๊าซนิยมใช้ดับเพลิงที่ลุกไหม้สิ่งที่มีค่าเช่น ใน
กรณีที่เกิดไฟไหม้ห้องคอมพิวเตอร์ หรือห้องผ่าตัด เพราะเมื่อฉีดไปแล้วจะไม่ทิ้งคราบไว้ตรง
บริเวณที่ฉีด หรือทำความสะอาดได้ง่าย แต่มีข้อเสียคือ สามารถดับเพลิงได้ในระยะใกล้ๆเท่านั้น
         3. น้ำ เป็นถังดับเพลิงที่บรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซที่ถูกอัดไว้ เหมาะสำหรับดับเพลิง Class A เท่านั้น
         4. คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เป็นก๊าซที่ถูกอัดแน่นจนเป็นของเหลวเมื่อฉีดออกมาจะเกิดโฟมที่เย็นจัด ช่วยลดอุณหภูมิในบริเวณที่เกิดเพลิงไหม้ ใช้ได้ดีมากกับไฟไหม้ Class B และ C แต่สามารถดับ
ไฟได้ดีแค่ระยะ 3-8 ฟุต
วิธีการใช้เครื่องดับเพลิง
       ดึง สลักออก
       ปลด หัวฉีด และจับปลายสายชี้ไปที่ฐานของไฟ
       กด คันบีบเต็มที่
       ส่าย มือจับปลายสายให้แน่นและฉีดไปที่ฐานของสายไฟ ส่ายมือไปมา
ข้อห้าม
       *อย่าฉีดเมื่อยังไม่เห็นจุดต้นเพลิงหรือเพียงเห็นกลุ่มควัน
       *ฉีดเข้าด้านเหนือลมที่ฐานของไฟ ห้ามฉีดเปลวไฟ
       *ปฏิบัติตามข้อแนะนำของเครื่องดับเพลิงแต่ละชนิด
ขั้นตอนทั้ง 4 เมื่อมีไฟไหม้
      1. พบเหตุ FIRE เมื่อพบเหตุเพลิงไหม้ ให้แจ้งเหตุพร้อมช่วยคนที่อยู่ในอันตราย
      2. แจ้งเหตุ ALARM  แจ้งให้ผู้อยู่ใกล้ที่เกิดเหตุรู้ และไปกดสัญญาณแจ้งเหตุ เพลิงไหม้ (Fire Alarm) และดับไฟ
      3. ระงับเหตุ EXTINGUISH ผู้ที่รู้ว่ามีเหตุเพลิงไหม้ ต้องเข้าช่วยกันดับไฟ (ควรฝึกใช้เครื่องดับเพลิงให้เป็นทุกคน) ปฏิบัติตามแผนฉุกเฉิน
      4. หนีเหตุ ESCAPE ผู้ ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดับไฟ ให้รีบหนีทางช่องหนีไฟที่ปลอดภัยให้หนีลงอย่าหนีขึ้น หากมีกลุ่มควันให้คลานต่ำ แล้วไปรวมตัวที่จุดรวมพล เพื่อตรวจสอบจำนวนคนว่าออกมาครบ หรือติดค้างในอาคาร
แนวทางปฏิบัติ/การเตรียมการ
      1. จัดเตรียมอุปกรณ์นิรภัยสำหรับช่วยชีวิต
      2. ยึดเครื่องใช้ เครื่องเรือนต่างๆ ไว้ให้มั่นคง ไม่ให้ลื่นไถลหรือล้มง่ายจะเป็นการช่วยบรรเทาความ
เสียหายให้น้อยลง
     3. เตรียมพร้อม เพื่อการอพยพไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัย และต้องกำหนดแผนการล่วงหน้า
     4. อยู่ใต้โต๊ะที่แข็งแรง ป้องกันสิ่งของร่วงหล่น
     5. เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวมักจะมีปัญหาเรื่องไฟฟ้าดับ ดังนั้น การใช้ลิฟท์จึงไม่ควรอย่างยิ่ง
     6. หากกำลังขับรถก็ให้จอดรถแล้วอยู่ในรถ จนกว่าการสั่นสะเทือนผ่านพ้นไป
     7. ออกจากอาคาร เมื่อมีการสั่งการจากผู้ควบคุมดับเพลิงได้ในระยะใกล้ๆเท่านั้น
“ ป้องกันอย่าให้เกิด คือสิ่งประเสริฐสุด ”

การป้องกันอัคคีภัย

        “ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน” หมายความว่า การกระทํา หรือสภาพการทํางานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทํางานหรือเกี่ยวกับการทeงาน
พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทeงาน พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกบัการป้องกันและระงับอัคคีภัย ได้กำหนดให้สถาน ประกอบกิจการที่มีลูกจ้า ตั้งแต่ 10 คนข้ึนไป นายจ้างต้องจัดให้มีแผนป้องกันและระงัอัคคีภัยใน สถานประกอบกิจการประกอบด้วย การตรวจตรา การอบรม การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย การ ดับเพลิง การอพยพหนีไฟ และการบรรเทาทุกข์โดยให้นายจ้างจัดเก็บแผนป้องกัน และระงับ อัคคีภัย เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพยส์ินจากอัคคีภัย สร้างความมั่นใจในเรื่อง ความปลอดภัยต่อพนักงาน กรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ลดอัตราการเสียงต่อการเกิดเหตุอัคคีภัย และ สร้างทัศนคติที่ดีต่อพนักงานในสถานประกอบการ ณ สถานประกอบกิจการพร้อมที่จะให้ พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ การบริหารจัดการอาคารให้ปลอดภัยจากอัคคีภัยอาจ
                แผนการตรวจตรา
               การตรวจตราการอบรม
               การรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย
               การดับเพลิง
               การอพยพหนีไฟ
               และการบรรเทาทุกข์โดยให้นายจ้างจัดเก็บแผนป้องกันและระงับ อัคคีภัย เพื่อเป็นการป้องกันการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพยส์ินจากอัคคีภัย สร้างความมั่นใจในเรื่อง ความปลอดภัยต่อพนักงานกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้ลดอัตราการเสียงต่อการเกิดเหตุอัคคีภัย และ สร้างทัศนคติที่ดีต่อพนักงานในสถานประกอบการ ณ สถานประกอบกิจการพร้อมที่จะให้ พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ การบริหารจัดการอาคารให้ปลอดภัยจากอัคคีภัยอาจ แบ่งแผนระงับเหตุและป้องกัน
 แผนการตรวจตรา
               เป็ นแผนการสำรวจความเสี่ยงและตรวจตรา เพื่อเฝ้าระวังป้องกันและขจัดต้น เหตุของการ เกิดเพลิงไหม้ก่อนจัดทำแผนควรมีข้อมูลต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ เช้ือเพลิง สารเคมีสารไวไฟ ระบบ ไฟฟ้า จุดที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ และต้องมีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ คุณสมบตัิ ลักษณะการลุกไหม้ ปริมาณของสารอันตราที่มีอยู่สูงสุด ชนิดของสารดับเพลิงและปริมาณที่ตีอง ใช้และการออกแบบและการก่อสร้างที่ถูกต้องแล้วของระบบความปลอดภัยจากอัคคีภัยประจ ำ อาคารโดยหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ หรือบุคคลากรที่ได้ร้ับการอบรมฝึกฝน การตรวจสอบระบบ ดังกล่าวต้องกระทำอย่างต่อเนื่อง รายงานต่อผู้บริหารอาคารได้ทราบถึงสถานภาพความพร้อมของ ระบบ เพื่อที่จะสามารถรักษาระดับความปลอดภัยของอาคารมิให้เสื่อมถอยลง เพื่อประกอบการ วางแผน และ ควรมีการกำหนดบุคคล พื้นที่ที่รับผิดชอบ หัวข้อและจุดที่ต้องตรวจ ระยะเวลา ความถี่ผู้ตรวจสอบรายงาน การส่งรายงานผลการแจ้งข้อบกพร่องในการตรวจตราที่ชัดเจน

แผนการอบรม


           เป็นการอบรมให้ความรู้กับพนักงานทั้งในเชิงป้องกันและการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุ ซึ่งการเกิดอัคคีภัยภายในสถานประกอบการ  ย่อมน ามาซึ่งความสูญเสียต่อธุรกิจการค้าทั้งทางตรงและทางอ้อม  ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเสียหาย การผลิต การบริการหยุดชะงัก เสียโอกาสการขาย หรืออาจถึงขั้นมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ดังนั้นในการป้องกันและลดความเสี่ยงด้านการเกิดอัคคีภัย  จึงจ าเป็นต้องจัดให้มีแผนการอบรม  โดยก าหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาด าเนินการและงบประมาณให้ชัดเจน

แผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย 

เป็นแผนเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัยในสถานประกอบการ โดยเป็นการสร้างความสนใจ  และส่งเสริมในเรื่องการป้องกันอัคคีภัยให้เกิดขึ้นในทุกระดับของพนักงานในแผนการรณรงค์ป้องกันอัคคีภัยควรก าหนดผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาด าเนินการ และงบประมาณให้ชัดเจน


แผนการดับเพลิง 

            เป็นการจัดทำแผนการด าเนินการขั้นตอนการดับเพลิง โดยเริ่มตั้งแต่พนักงาน หรือ เครื่องมือตรวจจับพบเหตุการณ์เพลิงไหม้  การอพยพผู้ใช้อาคาร การผจญเพลิง จนกระทั่งเพลิงไหม้สิ้นสุด และการจัดแผนงานบริหารคณะท างาน ผู้รับผิดชอบหรือผู้มีอ านาจสั่งการ ขององค์กร


แผนอพยพหนีไฟ 

          กำหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน และของสถานประกอบการในขณะเกิดเพลิงเหตุไหม้ แผนอพยพหนีไฟที่กำหนดขึ้นนั้น มีองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น หน่วยตรวจสอบจำนวนพนักงาน, ผู้นำทางหนีไฟจุดนัดพบหน่วยช่วยชีวิต  และยานพาหนะ  ฯลฯ  ควรได้กำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละ หน่วยงานโดยขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการอพยพหนีไฟหรือผู้อ านวยการดับเพลิง

แผนบรรเทาทุกข์

          มุ่งเน้นที่การประเมินความเสียหาย และการติดต่อประสานงานในพื้นที่เพื่อให้ได้รับสิ่งจำเป็นพื้นฐานสำหรับการยังชีพ ไปยังหน่วยบรรเทาสาธารณภัยของทางการและที่เป็นสากล อาทิ การติดต่อประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ  การสำรวจความเสียหาย   การช่วยชีวิตและขุดค้นหาผู้เสียชีวิต  การเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย ทรัพย์สินและผู้เสียชีวิต  การประเมินความเสียหาย ผลการปฏิบัติงานและรายงานสถานการณ์เพลิงไหม้  การช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัย และ การปรับปรุงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินการได้โดยเร็วที่สุด

มาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัย

             เพื่อใช้ประกอบกับมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย ซึ่งใช้ในการเชื่อมโยงไปยังมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัย ท าให้การออกแบบและก่อสร้างอาคารมีความสมบูรณ์และน าไปสู่ความปลอดภัยต่อชีวิต ทรัพย์สิน ความต่อเนื่องทางธุรกิจ และสิ่งแวดล้อม ระบบป้องกันอัคคีภัยที่ จะมุ่งเน้นมาตรการที่จ าเป็นที่ไม่เกี่ยวข้องกับภาคอื่นๆ 

ความปลอดภัยข้างต้นไม่เพียงเฉพาะปฏิบัติตามข้อก าหนดต่างๆ ที่ระบุหรือมาตรฐานที่ถูกเชื่อมโยงเท่านั้น การดูแลรักษาอุปกรณ์ การทดสอบ การตรวจสอบอย่างสม ่าเสมอจะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด  ส่วนการเปลี่ยนแปลงการใช้อาคาร ประเภทอาคาร รวมทั้งการดัดแปลงผังภายในอาคาร จะต้องท าการตรวจสอบ เปลี่ยนแปลง และค านวณรายละเอียดทางวิศวกรรมใหม่ให้สอดคล้องกับข้อก าหนด  และระบบป้องกันอัคคีภัยครอบคลุมเฉพาะระบบไฟฟ้าและเครื่องกลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันอัคคีภัย  มาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัยประกอบ ดังนี้

1) ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
2) ระบบป้องกันฟ้าผ่า
3) ลิฟต์พนักงานดับเพลิง
4) ระบบสื่อสารฉุกเฉิน
5) ระบบไฟฟ้าส ารองฉุกเฉิน
6) ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
7) ระบบควบคุมควันไฟ
8) ศูนย์สั่งการดับเพลิง
9) เครื่องหมายแสดงทางหนีไฟ และอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย
มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยส าหรับโรงงาน

คำแนะนำในการป้องกันอัคคีภัย



 เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีเวรผลัดเปลี่ยนรับผิดชอบพื้นที่ ตลอด 24 ชั่วโมง ระบบสื่อสารติดต่อประสานงานรวดเร็ว พร้อมที่จะออกปฏิบัติหน้าที่ระงับเหตุเพลิงไหม้ทันทีที่ได้รับแจ้ง
 เหตุเพลิงไหม้โทรแจ้ง 199
     การแจ้งเหตุเพลิงไหม้ทางโทรศัพท์ เมื่อประสบเหตุเพลิงไหม้ โทรศัพท์แจ้ง ให้บอกสถานที่ที่เกิดเหตุ บริเวณใกล้เคียง ถนน ตรอก ซอย พร้อมชื่อที่อยู่ของผู้แจ้งให้ชัดเจนด้วย
 ข้อควรจำ
     การออกปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงแต่ละครั้ง ผู้เป็นเจ้าของสถานที่เกิดเหตุไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด หากมีการเรียกร้องค่าจ้างค่าตอบแทนใดๆ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีทันทีหรือแจ้งต่อคณะเทศมนตรีหรือปลัดเทศบาล
 คำแนะนำในการป้องกันอัคคีภัย
การป้องกันอัคคีภัย ความเสียหายที่เกิดจากอัคคีภัย เป็นการยากที่จะควบคุมและป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยขึ้นได้ อย่างเด็ดขาดและเสมอไป เพราะอัคคีภัยนั้นเปรียบเหมือน “ศัตรูที่ไม่รู้จักหลับ” และความประมาท เลินเล่อของผู้ทำงานหรือผู้ประกอบกิจการเป็นจำนวนมาก ย่อมจะเกิดและมีขึ้นได้ไม่วันใดก็วันหนึ่ง จึงเห็นควรที่จะต้องช่วยกันป้องกันอัคคีภัย
ในการป้องกันอัคคีภัยจะมีสิ่งที่ควรปฏิบัติเฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างอีกมากมายแต่ก็มีหลักการง่ายๆ ในการป้องกันอัคคีภัยอยู่ 5 ประการ คือ
การจัดระเบียบเรียบร้อยภายในและภายนอกอาคารให้ดี เช่นการขจัดสิ่งรกรุงรังภายใน อาคารบ้านเรือนให้หมดไป โดยการเก็บรักษาสิ่งที่อาจจะเกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ให้เป็นสัดส่วน เป็นบันไดขั้นต้นในการป้องกันอัคคีภัย การตรวจตราซ่อมบำรุงบรรดาสิ่งที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการ เช่น สายไฟฟ้า เครื่องจักรกล เครื่องทำความร้อนให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และปลอดภัยก็จะ ป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัย ได้ดียิ่งขึ้น
 อย่าฝ่าฝืนข้อห้ามที่จิตสำนึกควรพึงระวัง เช่น
·         อย่าปล่อยให้เด็กเล่นไฟ
·         อย่าจุดธูปเทียนบูชาพระทิ้งไว้
·         อย่าวางก้นบุหรี่ที่ขอบจานที่เขี่ยบุหรี่ หรือขยี้ดับไม่หมดทำให้พลัดตกจากจาน หรือ สูบบุหรี่บนที่นอน
·         อย่าใช้เครื่องต้มน้ำไฟฟ้าแล้วเสียบปลั๊กจนน้ำแห้ง
·         อย่าเปิดพัดลมแล้วไม่ปิด ปล่อยให้หมุนค้างคืนค้างวัน
·         อย่าเปิดเครื่องอำนวยความสุขอย่างอื่น เช่น เปิดโทรทัศน์แล้วลืมปิด
·         วางเครื่องไฟฟ้า เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็นติดฝาผนัง ความร้อนระบายออกไม่ได้ตามที่ ควรเป็น เครื่องร้อนจนไหม้ตัวเองขึ้น
·         อย่าหมกเศษผ้าขี้ริ้ว วางไม้กวาดดอกหญ้า หรือซุกเศษกระดาษไว้หลังตู้เย็นบางครั้งสัตว์เลี้ยงในอาคารก็คาบเศษสิ่งไม่ใช้ไปสะสมไว้หลังตู้เย็น ที่มีไออุ่นเกิดการคุไหม้ขึ้น
·         อย่าใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐานหรือปลอมแปลงคุณภาพ เช่น บาลลาสต์ที่ใช้ กับหลอดไฟฟ้าฟลูเรซเซ่นท์ เมื่อเปิดไฟทิ้งไว้อาจร้อน และลุกไหม้ส่วนของอาคารที่ติดอยู่
·         อย่าจุดหรือเผาขยะมูลฝอย หญ้าแห้ง โดยไม่มีคนดูแล เพราะไฟที่ยังไม่ดับเกิดลม พัดคุขึ้นมาอีก มีลูกไฟปลิวไป จุดติดบริเวณใกล้เคียง
·         อย่าลืมเสียบปลั๊กไฟฟ้าทิ้งไว้
·         อย่าทิ้งอาคารบ้านเรือนหรือคนชราและเด็กไว้โดยไม่มีผู้ดูแล
·         อย่าสูบบุหรี่ขณะเติมน้ำมันรถ
·         ดูแลการหุงต้มเมื่อเสร็จการหุงต้มแล้วให้ดับไฟ ถ้าใช้เตาแก๊สต้องปิดวาล์วเตาแก๊ส และถังแก๊สให้เรียบร้อย
·         เครื่องเขียนแบบพิมพ์บางชนิดไวไฟ เช่น กระดาษไข ยาลบกระดาษไข กระดาษแผ่นบางๆ อาจเป็นสื่อสะพานไฟทำให้เกิดอัคคีภัยติดต่อคุกคามได้
·         ดีดีที สเปรย์ฉีดผม ฉีดใกล้ไฟ จะติดไฟและระเบิด
·         เกิดไฟฟ้าลัดวงจรในคืนฝนตกหนัก เพราะสายไฟที่เก่าเปื่อยเมื่อวางทับอยู่ฝ้าเพดาน ไม้ผุที่มีความชื้นย่อมเกิดอันตราย จากกระแสไฟฟ้าขึ้นได้
·         เกิดฟ้าผ่าลงที่อาคารขณะมีพายุฝน ถ้าไม่มีสายล่อฟ้าที่ถูกต้องก็ต้องเกิดเพลิงไหม้ขึ้นได้ อย่างแน่นอน
·         เตาแก๊สหุงต้มในครัวเรือนหรือสำนักงานเกิดรั่ว
·         รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เกิดอุบัติเหตุหรือถ่ายเทน้ำเบนซินเกิดการรั่วไหล ก็น่าเกรงอัคคีภัยมาก
·         ในสถานที่บางแห่ง มีการเก็บรักษาสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายอาจคุไหม้ขึ้น ได้เอง สารเคมีบางชนิด เช่น สีน้ำมัน และน้ำมันลินสีค เป็นต้น เมื่อคลุกเคล้ากับเศษผ้าวางทิ้งไว้ อาจคุไหม้ขึ้นเอง ในห้องทดลองเคมีของโรงเรียนเคยมีเหตุเกิดจากขวดบรรจุฟองฟอรัสเหลือง (ขวด) พลัดตกลงมาเกิดแตกลุกไหม้ขึ้น
·         ซ่อมแซมสถานที่ เช่น การลอกสีด้วยเครื่องพ่นไฟฟ้า การตัดเชื่อมโลหะด้วยแก๊ส หรือไฟฟ้า การทาสีหรือพ่นสีต้องทำด้วยความระมัดระวังอาจเกิดไฟคุไหม้ขึ้นได้ ความร่วมมือที่ดี จะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงนายตรวจป้องกันอัคคีภัยได้ให้ไว้และปฏิบัติตามข้อห้ามที่วางไว้เพื่อ ความปลอดภัยจากสถาบันต่างๆ


ประการสุดท้าย
    จะต้องมีน้ำในตุ่มเตรียมไว้สำหรับสาดรด เพื่อให้อาคารเปียกชุ่มก่อนไฟจะมาถึง เตรียมทรายและเครื่องดับเพลิงเคมีไว้ให้ถูกที่ถูกทางสำหรับดับเพลิงชั้นต้นและต้องรู้จักการ ใช้เครื่องดับเพลิงเคมีด้วย และระลึกอยู่เสมอว่าเมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้ว จะต้องปฏิบัติดังนี้
·         แจ้งข่าวเพลิงไหม้ทันที หรือสถานีดับเพลิง สถานีตำรวจใกล้เคียงโดยแบ่งหน้าที่กันทำ
·         ดับเพลิงด้วยเครื่องดับเพลิงที่มีอยู่ในบริเวณที่ใกล้เคียงกับที่เกิดเหตุ
·         หากดับเพลิงชั้นต้นไม้ได้ปิดประตูหน้าต่างบ้านและอาคารทุกบานและอุดท่อทางต่างๆ ที่อาจเป็นทางผ่านความร้อน ก๊าซ และควันเพลิงเสียด้วย ข้อควรปฏิบัติ
·         ช่วยคนชรา เด็ก และคนที่ช่วยตัวเองไม่ได้ไปอยู่ในที่ปลอดภัย
·         อย่าใช้ลิฟต์ในขณะเกิดเหตุ
·         ขนย้ายเอกสาร และทรัพย์สินที่มีค่าเท่าที่จำเป็นตามสถานการณ์และนำไปเก็บกองรวม อย่าให้ฉีกขาดลุ่ย โดยป้องกันมิให้น้ำกระเซ็นเปียก

ข้อควรระวัง และวิธีปฏิบัติเมื่อแก๊สรั่ว
·       เมื่อได้กลิ่นแก๊สปิดวาล์วหัวถังทันที
·       เปิดประตู หน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทเพื่อให้แก๊สเจือจาง
·       ห้ามจุดไม้ขีด ไฟแช็ก เปิด-ปิดสวิตซ์ไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าในบริเวณที่มีแก๊สรั่ว
·       ใช้ไม้กวาด กวาดแก๊สออกทางประตู
·       ตรวจหาที่รั่วและแก้ไขทันที
·       หากถังแก๊สมีรอยรั่ว ให้นำถังแก๊สนั้นไว้ในที่โล่งที่ปลอดภัย
·       ท่อยางต้องไม่อยู่ใกล้เปลวไฟ
·       ห้องน้ำที่ใช้เครื่องทำน้ำร้อนแก๊ส ควรมีช่องระบายอากาศเพื่อให้มีออกซิเจนเพียงพอ

แหล่งข้อมูล http://www.chaoprayanews.com/2010/11/02/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%84/

การก่อการร้ายทางนิวเคลียร์และรังสี

การกำหนดภัยคุกคาม การยึดอาวุธนิวเคลียร์แบบไม่บุบสลาย ผู้เชี่ยวชาญมักจำแนกการก่อการร้ายด้วยอาวุธนิวเคลียร์และรังสีออกเป็นภัยคุกคามสี่ปร...