วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2561

การปฏิบัติการยุทธ์ของหมวด

                                                     ตอนที่ ๒

การปฏิบัติการยุทธ์ของหมวด

          ในตอนที่ ๒ นี้ จะกล่าวถึง การปฏิบัติการทางยุทธวิธีของหมวด และหมู่ปืนเล็ก ใน ๓ รูปแบบหลัก คือ การเคลื่อนที่ การรบด้วยวิธีรุก และการรบด้วยวิธีรับ นอกจากนั้นจะกล่าวถึงการระวังป้องกัน ซึ่งหมวดปืนเล็กจะต้องปฏิบัติในทุกรูปแบบของการปฏิบัติ  ยุทธวิธีของทหารราบ มีพื้นฐานมาจาก หลักสำคัญ ๕ ประการ คือ
         . เมื่อปะทะกับข้าศึก หมู่และหมวดปืนเล็ก จะเข้าทำการรบ เอาชนะข้าศึกด้วยกำลังของหน่วยระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
         . หมู่ปืนเล็กที่ปะทะจะต้องรีบทำการยิงกดต่อฝ่ายข้าศึกให้ได้ผลก่อน จึงจะดำเนินกลยุทธ์ หรือให้หมู่ปืนเล็กอื่น ดำเนินกลยุทธ์ หากหมู่ปืนเล็กไม่สามารถเคลื่อนที่ภายใต้การยิงคุ้มครองจากอาวุธภายในหมู่เองได้ หมวดปืนเล็กต้องทำการยิงกดให้ และดำเนินกลยุทธ์ต่อที่มั่นของข้าศึกทันที
         . หมวดและหมู่ปืนเล็กทำการรบเป็นหน่วย โดยการดำรงความเป็นชุดยิงและหมู่ ชุดบุคคลคู่ (buddy team) เช่น ผู้บังคับหมู่คู่กับพลยิงอาวุธกล และพลยิงเครื่องยิงลูกระเบิดคู่กับพลปืนเล็ก  เป็นต้น
         . ความสำเร็จของภารกิจ ขึ้นอยู่กับการที่ทหารทุกคนรู้ว่า หมวดของตนกำลังมุ่งที่จะทำอะไรอยู่ และรู้ขั้นตอนที่จะต้องปฏิบัติจนบรรลุภารกิจนั้น
         . ผู้บังคับหมวดปืนเล็กจะต้องพัฒนาสถานการณ์ได้โดยไม่จำเป็นต้องคอยผลการปฏิบัติของหมู่ปืนเล็กที่กำลังปะทะ เมื่อใดก็ตามที่ชุดยิงใดชุดยิงหนึ่งเกิดการปะทะ หมวดปืนเล็กจะเริ่มการปฏิบัติที่จำเป็นโดยทันที ด้วยวิธีนี้จะทำให้หมวดปืนเล็กสามารถให้การสนับสนุนเพิ่มเติมหรือดำเนินกลยุทธ์เพื่อช่วยเหลือในการโจมตี หรือทำการขยายผลแห่งความสำเร็จ แก่หมู่ปืนเล็กที่กำลังปะทะนั้นได้ทันที
- การเคลื่อนที่
        การเคลื่อนที่หมายถึงการโยกย้าย (shifting) กำลังในสนามรบ หัวใจสำคัญของความสำเร็จในการเคลื่อนที่คือความสามารถของผู้บังคับหน่วยที่จะผสมผสานใช้ทั้งรูปขบวนและเทคนิคในการเคลื่อนที่ที่ดีที่สุด    ในแต่ละสถานการณ์ โดยพิจารณาปัจจัย ภารกิจ ข้าศึก ภูมิประเทศ กำลังและเวลาที่มีอยู่ (METT-T)  ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุด กับเลือกรูปขบวนและเทคนิคการเคลื่อนที่ที่เหมาะสมที่สุด อย่างไรก็ตามการตกลงใจเลือกวิธีการเคลื่อนที่ของผู้บังคับหน่วยจะต้องอำนวยให้การเคลื่อนที่ของหมวดเป็นไปในลักษณะดังนี้
        - ดำรงไว้ซึ่งความเป็นปึกแผ่นของหน่วย
        - ดำรงไว้ซึ่งแรงหนุนเนื่อง
        - สามารถพิทักษ์หน่วยได้มากที่สุด
        - เมื่อปะทะข้าศึก สามารถปรับเปลี่ยนการรบเป็นวิธีรุก หรือรับได้สะดวกและรวดเร็ว
        . รูปขบวน หมายถึง การจัดลักษณะตำแหน่ง ที่อยู่ ระยะ และทิศทางของหน่วย / ส่วนต่างๆ และตัวทหารให้มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันหมวดและหมู่ปืนเล็กใช้รูปขบวนในการเคลื่อนที่เพื่อประโยชน์ในการควบคุม การระวังป้องกันและเพื่อความอ่อนตัว
           ) การควบคุม หมู่ปืนเล็กทุกหมู่และทหารทุกคน  มีตำแหน่งที่อยู่ในแต่ละรูปขบวนเป็นมาตรฐานแน่นอน ทหารแต่ละคนมองเห็นหัวหน้าชุดของตน หัวหน้าชุดยิงแต่ละคนมองเห็นผู้บังคับหมู่ของตน  ผู้บังคับหน่วยสามารถควบคุมหน่วยด้วยทัศนสัญญาณ  (มือและแขน)
           ) การระวังป้องกันรูปขบวนต่าง สามารถทำการระวังป้องกันรอบตัวได้รอบตัว และยังเอื้ออำนวยให้หน่วยสามารถวางน้ำหนักอำนาจการยิงทั้งทางด้านปีก    หรือด้านหน้าแล้วแต่จะคาดการณ์ว่าการปะทะน่าจะเกิดขึ้นทางด้านใด
           ) ความอ่อนตัว รูปขบวนการเคลื่อนที่จะไม่กำหนดระยะและรูปร่างที่แน่นอน ตายตัวหมวดและหมู่ปืนเล็กต้องมีความอ่อนตัวในการเลือกใช้รูปขบวนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ การใช้รูปขบวนที่เหมาะสมจะช่วยให้ทหารแต่ละคนสามารถปฏิบัติเป็นอัตโนมัติตามที่ได้ฝึกซ้อมมา ตามแบบฝึกทำการรบ (Battle drill) ได้อย่างรวดเร็ว และมั่นใจได้ว่าตัวผู้บังคับหน่วยและทหารแต่ละคนจะอยู่ ตำแหน่งที่เหมาะสมเป็นที่รู้กัน และสามารถปฏิบัติการได้อย่างถูกต้องตามที่จะบรรลุภารกิจ
        . เทคนิคการเคลื่อนที่  หมายถึง การจัดความสัมพันธ์ของตำแหน่งที่ตั้งหน่วยต่าง เช่น หมู่ปืนเล็กและชุดยิงในระหว่างการเคลื่อนที่ เทคนิคการการเคลื่อนที่ของหมวด และหมู่ปืนเล็ก มี ลักษณะ คือ เทคนิคการเคลื่อนที่แบบเดินทาง เดินทางเฝ้าตรวจ และเฝ้าตรวจเคลื่อนที่สลับ
            ) เทคนิคการเคลื่อนที่ ใช้เพื่อการควบคุมหน่วย การระวังป้องกัน และเพื่อความอ่อนตัวในการเคลื่อนที่ของหน่วย เช่นเดียวกับรูปขบวนการเคลื่อนที่
            ) เทคนิคการเคลื่อนที่ แตกต่างจากรูปขบวนการเคลื่อนที่ ประการ คือ
                 ) รูปขบวนการเคลื่อนที่ นั้นค่อนข้างจะแน่นอนกว่า เทคนิคการเคลื่อนที่ โดยเฉพาะในเรื่องของระยะห่างระหว่างบุคคล หรือหน่วยต่าง ตัวอย่าง เช่น ในการใช้เทคนิคการเคลื่อนที่แบบเฝ้าตรวจเคลื่อนที่สลับนั้น ระยะห่างระหว่างส่วนที่เฝ้าตรวจกับส่วนที่เคลื่อนที่ จะไม่กำหนดแน่ชัด ขึ้นอยู่กับปัจจัย METT-T
                 ) รูปขบวน ทำให้หมวดปืนเล็กสามารถวางน้ำหนักการยิงไปยังทิศทางที่ต้องการ ส่วนเทคนิคการเคลื่อนที่ ทำให้หมู่ปืนเล็กสามารถเข้าปะทะกับข้าศึกด้วยกำลังส่วนที่เล็กที่สุด  ซึ่งทั้งสองประเภทนี้ทำให้ผู้บังคับหมวดสามารถจัดตั้งฐานยิงเริ่มยิงกดข้าศึกได้ก่อน และสามารถดำเนินกลยุทธ์ได้  โดยไม่ต้องผละจากการรบก่อน หรือต้องรอการเพิ่มเติมกำลังเสียก่อน
             ) ผู้บังคับหมวด จะเลือกใช้เทคนิคการเคลื่อนที่แบบใดขึ้นอยู่กับโอกาสที่จะเกิดการปะทะกับข้าศึก และความเร็วที่ต้องการเป็นหลัก
        . ข้อพิจารณาอื่น ในการวางแผนการเคลื่อนที่ทางยุทธวิธี ผู้บังคับหมวดควรพิจารณาถึงปัจจัยที่สำคัญต่าง ด้วย ดังนี้
            - การลาดตระเวน
            - การกระจายกำลัง
            - การระวังป้องกัน
            - การกำบัง  และการซ่อนพราง
            - ความเร็ว
            - การตรวจการณ์  และพื้นยิง
            - พื้นที่ดำเนินกลยุทธ์
            - การบังคับบัญชา และการควบคุม
- การรบด้วยวิธีรุก
         ความมุ่งหมายของการรบด้วยวิธีรุก คือ เพื่อทำลายกำลัง และความตั้งใจในการต่อสู้ของฝ่ายข้าศึก เพื่อยึดภูมิประเทศ พิสูจน์ทราบกำลัง และการวางกำลังของข้าศึก หรือเพื่อลวงหันเหความสนใจหรือตรึงกำลังข้าศึก โดยปกติหมวดและหมู่ปืนเล็กจะปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยใหญ่ แต่ก็สามารถปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกในบางรูปแบบเป็นอิสระได้ผลสำเร็จจะอยู่ที่ผู้บังคับกองร้อยสามารถใช้อำนาจกำลังรบอย่างเหมาะสม จุดที่ต้องการผลแตกหัก
         คุณลักษณะของการรบด้วยวิธีรุกประกอบด้วย ความอ่อนตัว การจู่โจม การรวมกำลัง ความเร็ว และความห้าวหาญ
         การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ประกอบด้วย การเคลื่อนที่เข้าปะทะ การเข้าตี การตีโฉบฉวย การลาดตระเวน และระวังป้องกัน และการซุ่มโจมตี
         . การเคลื่อนที่เข้าปะทะ การเคลื่อนที่เข้าปะทะ เป็นการปฏิบัติเชิงรุกเข้าหาข้าศึก โดยมีความมุ่งหมายเพื่อให้ปะทะข้าศึกหรือเพื่อกลับเข้าปะทะกับข้าศึกใหม่ โดยปกติมักจะขาดข่าวสารข้าศึกอย่างละเอียด ทันทีที่ปะทะข้าศึกหน่วยจะรีบคลี่คลายสถานการณ์ให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของข้าศึกโดยเร็ว ตามปกติหมวดปืนเล็กจะเคลื่อนที่เข้าปะทะเป็นส่วนหนึ่งของกองร้อย
         ข้อพิจารณาในการวางแผนและปฏิบัติการเคลื่อนที่เข้าปะทะประกอบด้วย
            - เริ่มปะทะข้าศึกด้วยกำลังส่วนน้อยที่สุดก่อน
            - ปกปิดกำลังส่วนใหญ่ไม่ให้ถูกตรวจพบ จนกว่าจะใช้เข้าทำการรบ
            - ระวังป้องกันรอบตัวตลอดเวลา
            - รายงานข่าวสารทั้งสิ้นที่รวบรวมได้อย่างรวดเร็ว  และถูกต้อง
            - เมื่อปะทะข้าศึกแล้ว ดำรงการปะทะไว้ตลอดเวลา
            - ทำการรบให้สำเร็จด้วยกำลังในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้
         . การแทรกซึม การแทรกซึมเป็นรูปแบบหนึ่งของการดำเนินกลยุทธ์ในการรบด้วยวิธีรุก เป็นวิธีการเคลื่อนที่เข้าถึงส่วนหลังของข้าศึก โดยไม่ต้องสู้รบผ่านการตั้งรับที่เข้มแข็งของข้าศึก หมวดปืนเล็กทำการแทรกซึมเพื่อเคลื่อนที่ไปยัง หรือผ่านพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง โดยไม่ให้ข้าศึกได้ยิน หรือตรวจการณ์พบ การแทรกซึม มิใช่ความมุ่งหมายของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก แต่เป็นเพียงวิธีการให้บรรลุความมุ่งหมายเท่านั้น
            ) หมวดปืนเล็กทำการแทรกซึมเพื่อ
                - รวบรวมข่าวสาร
  - เข้าตีที่มั่นข้าศึกจากด้านหลัง
  - ตีโฉบฉวย หรือซุ่มโจมตี ในพื้นที่ส่วนหลังของข้าศึก   
                 - จับข้าศึกเป็นเชลย
  - ยึดภูมิประเทศสำคัญเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติของหน่วยอื่น
                 - สนับสนุนการเข้าตีหลัก
            ) การแทรกซึม แบ่งเป็น ขั้นตอน
                        ) การลาดตระเวน เพื่อค้นหาช่องว่าง จุดอ่อนในแนวตั้งรับ และที่ตั้งข้าศึก
                  ) การเตรียมการ ประกอบด้วยวางแผน ออกคำสั่ง ประสานงานกับหน่วยด้านหน้า และทางปีก และการซักซ้อม
                   ) การแทรกซึม ใช้วิธีการแทรกซึมแบบใดแบบหนึ่ง หลีกเลี่ยงการปะทะ และไม่ต้องสนใจต่อการยิงที่ไม่มีประสิทธิภาพของข้าศึก
         วิธีการแทรกซึมมีอยู่ วิธี คือ
                          () การแทรกซึมหลายช่องทาง ใช้เมื่อมีช่องทางแทรกซึมตามธรรมชาติอยู่แล้วหลายช่องทาง และลักษณะภูมิประเทศก็เกื้อกูลแก่การเคลื่อนที่หลายช่องทาง ตามวิธีนี้หมู่ปืนเล็กแต่ละหมู่ต่างเคลื่อนที่ในช่องทางของตนเอง
                          () การแทรกซึมช่องทางเดียว ครั้งละหมู่ปืนเล็ก ใช้เมื่อมีช่องทางแทรกซึมตามธรรมชาติจำกัด หรือเมื่อภูมิประเทศไม่เกื้อกูลให้ใช้ช่องทางแทรกซึมหลายช่องทาง ตามวิธีนี้หมู่ปืนเล็กจะเคลื่อนที่ในช่องทางเดียวกันแต่ต่างเวลากัน
                          () การแทรกซึมช่องทางเดียว หมู่ปืนเล็ก ใช้เมื่อมีช่องทางแทรกซึมเพียงช่องเดียวเท่านั้นที่หมู่ปืนเล็กสามารถใช้เคลื่อนที่ได้
                      ) การเสริมความมั่นคง  เป็นการปฏิบัติในพื้นที่ส่วนหลังของข้าศึก หรือบริเวณจุดบรรจบหน่วย หลังจากนั้นจึงเคลื่อนที่ไปยังฐานโจมตี (assault position) หรือจุดนัดพบ ที่หมายเพื่อปฏิบัติภารกิจต่อไป
                      ) การปฏิบัติภารกิจ เป็นการปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบ ซึ่งอาจเป็นภารกิจทำลายกำลัง หรือยุทโธปกรณ์ข้าศึก ยึดภูมิประเทศสำคัญ หรือพื้นที่สำคัญ จับข้าศึกเป็นเชลย  หรือเพื่อรวบรวมข่าวสาร
         . แบบของการเข้าตี การเข้าตีเป็นการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกแบบหนึ่ง มีคุณลักษณะที่สำคัญ คือ การเคลื่อนที่ที่มีการสนับสนุนด้วยการยิง แบบของการเข้าตีมี แบบ คือ การเข้าตีเร่งด่วน และการเข้าตีประณีต ข้อแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่ปัจจัยเวลาที่มีอยู่สำหรับการเตรียมการเข้าตี นอกจากนี้ยังมีการเข้าตีอีกแบบหนึ่ง ซึ่งแยกไว้เป็นการเฉพาะคือ การเข้าตีที่มีความมุ่งหมายพิเศษได้แก่การตีโฉบฉวย และการซุ่มโจมตี ความสำเร็จในการเข้าตีอยู่ที่การรวมอำนาจกำลังรบที่ข่มขวัญสูงสุด    และการปฏิบัติอย่างรุนแรงต่อกำลังฝ่ายศึก  อำนาจข่มขวัญ และความรุนแรงของทหารราบได้มาจากการจู่โจมเป็นสำคัญ โดยมีความมุ่งหมายเพื่อทำลายขวัญ ความประสานสอดคล้อง แผน ความเป็นปึกแผ่น และกำลังใจในการสู้รบของข้าศึก
         ความสำเร็จของการเข้าตีอยู่ที่การผสมผสานแผนการดำเนินกลยุทธ์เข้ากับแผนการยิงสนับสนุน ทั้งการยิงเล็งตรงและเล็งจำลองที่สอดคล้องกัน การดำเนินกลยุทธ์และการยิงสนับสนุนของหมวดปืนเล็กในการเข้าตีนั้น จะมุ่งกระทำไปยังจุดอ่อน ปีกด้านที่ล่อแหลม หรือด้านหลังของข้าศึก  ทันทีที่ทราบตำบลที่จะเข้ากระทำการดังกล่าว ผู้บังคับหมวดจะจัดตั้งฐานยิง (Base of fire) ทำการยิงเพื่อสังหาร ตรึง หรือกดข้าศึกไว้ ตำบลนั้น แล้วใช้กำลังที่เหลือดำเนินกลยุทธ์ไปยังด้านที่สามารถเข้าโจมตีต่อตำบลดังกล่าวนั้นได้
            ) การเข้าตีเร่งด่วน   การเข้าตีเร่งด่วนเป็นการเข้าตีที่ดำเนินการโดยกำลังที่มีอยู่ขณะนั้นเพื่อดำรงความหนุนเนื่อง หรือ เพื่อชิงความได้เปรียบจากฝ่ายข้าศึก โดยปกติไม่มีเวลาสำหรับเตรียมการอย่างละเอียด
            ) การเข้าตีประณีต การเข้าตีประณีต เป็นการเข้าตีที่มีการวางแผน และประสานงานอย่างละเอียด มีเวลาพอสำหรับการลาดตระเวนอย่างทั่วถึง การประเมินค่าข่าวกรองที่มีอยู่และอำนาจกำลังรบเปรียบเทียบในเวลานั้น การวิเคราะห์หนทางปฏิบัติหลาย หนทาง รวมทั้งปัจจัยอื่น ที่มีผลกระทบต่อการเข้าตี      โดยทั่วไปแล้วการเข้าตีประณีตจะเป็นการเข้าตีต่อที่มั่นข้าศึกที่มีการจัดระเบียบตั้งรับอย่างดี  ซึ่งไม่สามารถทำการเข้าตีเร่งด่วนได้ หรือใช้เมื่อการเข้าตีเร่งด่วนล้มเหลว
            ) การตีโฉบฉวย การตีโฉบฉวยเป็นการเข้าตีเจาะลึกเข้าไปพื้นที่ของข้าศึก เพื่อรวบรวมข่าวสาร ทำให้ข้าศึกสับสน หรือเพื่อทำลายที่ตั้งข้าศึก เมื่อบรรลุความมุ่งหมายแล้วทำการถอนตัวกลับตามแผนที่วางไว้
            ) การซุ่มโจมตี การซุ่มโจมตีเป็นการเข้าตีด้วยการยิงอย่างจู่โจมจากที่วางตัว ซึ่งปกปิดกำบัง อาจกระทำต่อข้าศึกขณะเคลื่อนที่ หรือหยุดอยู่กับที่ก็ได้ การซุ่มโจมตีเป็นการผสมผสานคุณลักษณะที่ได้เปรียบจากการรบด้วยวิธีรุก และวิธีรับร่วมกัน
         . การใช้ความริเริ่มในการเข้าตี การที่จะช่วงชิง และรักษาไว้ซึ่งความริเริ่มนั้นมิใช่กระทำด้วยการจู่โจมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องวางแผนและเตรียมการสำหรับปฏิบัติการรบเป็นอย่างดีด้วย และต้องมีการปฏิบัติต่าง ดังนี้ คือ ค้นหาข้าศึกให้พบก่อนเป็นลำดับแรก หลีกเลี่ยงการตรวจพบจากฝ่ายข้าศึก ตรึงข้าศึก ค้นหา หรือสร้างจุดอ่อนข้าศึกและดำเนินกลยุทธ์  เพื่อขยายผลต่อจุดอ่อนนั้นด้วยการเข้าโจมตีอย่างรวดเร็วและรุนแรง
            ) การวางแผนและการเตรียมการ   ผู้บังคับหมวดใช้ระเบียบการนำหน่วยเพื่อให้มั่นใจว่าได้มีการดำเนินการในขั้นตอนที่สำคัญ  สำหรับเตรียมการรบครบถ้วนทุกขั้นตอน นอกจากนั้นยังใช้หัวข้อการประเมินสถานการณ์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัย METT-T และเพื่อพิจารณาหาหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมทั้งเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้บังคับหน่วยทุกระดับทหารทุกคน รวมทั้งยุทโธปกรณ์ต่าง สามารถปฏิบัติกิจเฉพาะต่าง ที่จำเป็นต่อการบรรลุภารกิจเป็นส่วนรวมได้เป็นอย่างดี
            ) ค้นหาข้าศึก ผู้บังคับหมวดสามารถค้นหาข้าศึกได้โดยรู้หลักนิยมของข้าศึก วิเคราะห์ภูมิประเทศตามที่รู้หลักนิยมข้าศึก และหลังจากนั้นลาดตระเวนค้นหาให้พบข้าศึก
            ) หลีกเลี่ยงการถูกตรวจพบ หมวดปืนเล็ก หลีกเลี่ยงการถูกตรวจพบโดยเคลื่อนที่ตามแนวทางที่ข้าศึกไม่คาดคิด ซึ่งโดยธรรมดาย่อมเป็นแนวทางที่ยากลำบาก เพื่อใช้ลักษณะภูมิประเทศปิดบังการเคลื่อนที่ ใช้เทคนิคการพรางอย่างเหมาะสม และใช้วิธีการเคลื่อนที่แบบลักลอบ เมื่อสามารถหลีกเลี่ยงการถูกตรวจพบได้ย่อมทำให้หมวดปืนเล็กเป็นฝ่ายจู่โจมได้ตลอดเวลา แต่ความสำเร็จเหล่านี้ขึ้นอยู่กับจินตนาการ และความคิดที่ละเอียดอ่อน  กว้างไกล ของผู้บังคับหมวด และความเข็งแกร่ง ทรหดอดทนของทหารทุกคน
            ) ตรึงข้าศึก หมวด และหมู่ปืนเล็กตรึงกำลังข้าศึกโดยการยิงกด เพื่อสังหารข้าศึกส่วนที่อยู่นอกการกำบัง และทำลายระบบอาวุธต่าง อย่างน้อยที่สุดต้องทำให้ลดความหนาแน่นและความแม่นยำในการยิงของข้าศึกได้
            ) ค้นหาหรือสร้างจุดอ่อน ทำได้ด้วยการค้นหาช่องว่างภายในแนวปีกด้านที่ล่อแหลม หรือตำบลอับกระสุนจากการยิงของข้าศึก หากไม่สามารถค้นหาจุดอ่อนได้จะต้องทำให้เกิดจุดอ่อนขึ้นเช่นใช้การยิงกด หรือการจู่โจมด้วยการปรากฏตัวจากทิศทางข้าศึกไม่คาดคิด
            ) ดำเนินกลยุทธ์เพื่อขยายผลจุดอ่อน   ทำได้ด้วยการเคลื่อนที่ไปยังตำบลซึ่งให้การกำบังและซ่อนพรางดีที่สุด และจากตำบลนั้นเข้าโจมตี  เพื่อทำลายเอาชนะหรือจับเป็นเชลย
            ) เสริมความมั่นคงและจัดระเบียบใหม่ หมวดและหมู่ปืนเล็กต้องรีบเสริมความมั่นคงในพื้นที่ที่วางกำลังอยู่ เพื่อป้องกันการตีโต้ตอบของข้าศึก หลังจากนั้นทำการจัดระเบียบใหม่เพื่อเตรียมปฏิบัติภารกิจต่อไป
         . มาตรการควบคุม    ผู้บังคับหมวดใช้ภาพสัญลักษณ์ทางทหารเป็นมาตรการควบคุมสำหรับการเคลื่อนย้าย   การวางกำลัง  และการยิงของหมวด
            ) มาตรการควบคุม    ไม่ได้มีไว้เพื่อจำกัดเสรีในการปฏิบัติ  ผู้บังคับหมวดกำหนดมาตรการควบคุม เพื่อแสดงเจตนารมณ์เน้นน้ำหนักความพยายามของหมวดหรือหมู่ และเพื่อให้มั่นใจในความประสานสอดคล้อง มาตรการควบคุมแต่ละชนิดควรมีความมุ่งหมายเฉพาะเพื่อการบรรลุภารกิจเป็นสำคัญ      หากยังไม่มีความมุ่งหมายดังกล่าวผู้บังคับหมวดยังไม่ควรนำมาใช้
            ) มาตรการควบคุมสามารถกำหนดบนแผนที่ แผ่นบริวารยุทธการ ภาพสังเขปยุทธการหรือภูมิประเทศจำลองก็ได้   แต่ต้องพยายามใช้หลักความง่ายในการกำหนดและการตีความ มาตรการควบคุมในการรบด้วยวิธีรุก ประกอบด้วย ที่รวมพล ฐานออกตี เส้นแบ่งเขต เส้นทางเคลื่อนที่ จุดแยก จุดเริ่มต้น เส้นหลักการรุก ทิศทางเข้าตี แนวขั้น จุดตรวจสอบ ฐานโจมตีที่หมาย จุดประสานงาน จุดนัดพบ ช่องทางแทรกซึม แนวปรับรูปขบวน และแนวจำกัดการรุก รายละเอียดและตัวอย่างการใช้มาตรการควบคุม ศึกษาได้จาก  รส. ๑๐๑--
         .การเข้าตีระหว่างทัศนวิสัยจำกัด การเข้าตีระหว่างทัศนวิสัยจำกัดทำให้ได้มาซึ่งการจู่โจม หลีกเลี่ยงการสูญเสียอย่างหนัก สร้างความตื่นตระหนกแก่ข้าศึกส่วนที่อ่อนแอและขาดระเบียบ ขยายผลแห่งความสำเร็จ ดำรงความหนุนเนื่อง  และสร้างความกดดันต่อกำลังข้าศึก   หมวดและหมู่ปืนเล็กเข้าตีเวลาใดก็ได้ในระหว่างทัศนวิสัยจำกัด  ความมืด หมอก ฝนตกหนักหรือหิมะตก รวมทั้งควันและฝุ่นในสนามรบช่วยทำให้เกิดสภาพทัศนวิสัยจำกัด ซึ่งอำนวยให้หมวดและหมู่ปืนเล็กเคลื่อนที่โดยไม่ถูกตรวจพบจากฝ่ายข้าศึกได้
            ) หลักพื้นฐานการเข้าตีระหว่างทัศนวิสัยจำกัด ประยุกต์ใช้หลักการเข้าตีในเวลากลางวันและต้องอาศัยปัจจัยต่าง ดังนี้
                  - หมู่ปืนเล็กต้องได้รับการฝึกเป็นอย่างดี
                  - มีแสงตามธรรมชาติเพียงพอต่อการใช้เครื่องมือตรวจการณ์เวลากลางคืน
                  - แผนการปฏิบัติมีความง่ายและมีมาตรการควบคุมที่เหมาะสม
                  - มีการลาดตระเวนอย่างละเอียด และได้ผลบริเวณที่หมาย เส้นทาง จุดผ่านแนว ที่ตั้งของส่วนสนับสนุนการเข้าตีด้วยการยิง  และที่ตั้งที่สำคัญอื่น
            ) ข้อพิจารณา ผู้บังคับหมวดต้องพิจารณาถึงความยุ่งยากที่เพิ่มมากขึ้นอันเนื่องมาจากสภาพทัศนวิสัยจำกัด ที่จะมีผลต่อการปฏิบัติต่าง ดังนี้
                  - การควบคุมการเคลื่อนที่ทั้งเป็นบุคคล และเป็นหน่วย
                  - การพิสูจน์ทราบเป้าหมาย และการควบคุมการยิงทั้งยิงเล็งตรงและเล็งจำลอง
                  - การรักษาทิศทางในการเคลื่อนที่ให้ถูกเป้าหมาย
                  - การพิสูจน์ทราบกำลังฝ่ายเราและฝ่ายตรงข้าม
                  - การจัดตั้งตำบลรวบรวม การรักษาพยาบาล และการส่งกลับผู้บาดเจ็บ
   - การค้นหาที่ตั้ง การอ้อมผ่าน หรือการเจาะเครื่องกีดขวางข้าศึก
  - การรบด้วยวิธีรับ
         สาระสำคัญที่จะกล่าวถึงในข้อนี้ ประกอบด้วยคุณลักษณะของการรบด้วยวิธีรับ แนวความคิดในการปฏิบัติ (concept) ของผู้บังคับหมวดในการรวมความพยายามทั้งมวลของหมวดและหมู่รวมถึงข้อพิจารณาอื่น สำหรับการวางแผนในการรบด้วยวิธีรับ
         คุณลักษณะของการรบด้วยวิธีรับได้แก่  การเตรียมการ  การขัดขวาง  การรวมกำลัง  และความอ่อนตัว
         โดยปกติหมวดและหมู่ปืนเล็กทำการตั้งรับเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยเหนือ เพื่อขัดขวาง ทำลายรูปขบวน รั้งหน่วง หรือทำลายการเข้าตีของข้าศึก รักษาพื้นที่ที่ไม่ยอมให้ข้าศึกใช้ หรือเพื่อป้องกันปีก ในบางโอกาสหมวดและหมู่อาจทำการตั้งรับเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยใหญ่ในการรบด้วยวิธีร่นถอยก็ได้ สิ่งสำคัญเฉพาะหน้าสำหรับฝ่ายตั้งรับคือ ต้องรักษาความเป็นฝ่ายริเริ่มตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้ข้าศึกจำต้องปฏิบัติการตอบโต้ตามที่ฝ่ายเราต้องการให้ทำ และไม่มีโอกาสที่จะปฏิบัติการตามแผนการของตน
         . ความริเริ่มในการตั้งรับ เมื่อข้าศึกเป็นฝ่ายเลือกตำบลและเวลาในการเข้าตี ผู้บังคับหน่วยฝ่ายตั้งรับต้องรีบช่วงชิง และรักษาความเป็นฝ่ายริเริ่มไว้ให้ได้ โดยการวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ มีการเตรียมการ ประสานงาน และซักซ้อมการปฏิบัติ   ผู้บังคับหมวดวางแผนและเริ่มต้นการตั้งรับ เพื่อค้นหาข้าศึกก่อนเป็นลำดับแรก ต่อมาโดยที่ไม่ให้ข้าศึกเห็นต้องตรึงให้ข้าศึกอยู่กับที่ด้วยการใช้เครื่องกีดขวางและการยิง ค้นหาหรือสร้างจุดอ่อนในการเข้าตีของข้าศึก หลังจากนั้นดำเนินกลยุทธ์เพื่อขยายจุดอ่อนของข้าศึกด้วยการตีโต้ตอบอย่างรวดเร็วและรุนแรง
               ) การวางแผนและการเตรียมการ ผู้บังคับหมวดใช้ระเบียบการนำหน่วยเพื่อประกันว่า ได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ที่สำคัญทุกขั้นตอนในการเตรียมการตั้งรับ และวิเคราะห์ปัจจัย METT-T เพื่อหาหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ซึ่งในการตั้งรับหมายถึง พื้นที่บริเวณที่จะสามารถสังหารข้าศึกด้วยการยิงได้ดีที่สุด ฝ่ายตั้งรับต้องทำการวางอาวุธยิงหลักให้สามารถรวมอำนาจการยิงไปยังบริเวณนั้น สนธิการยิงเข้ากับเครื่องกีดขวางที่มีอยู่ หลังจากนั้นวางอาวุธยิงส่วนที่เหลือของหมวดและหมู่ ให้สามารถสนับสนุนและระวังป้องกันแก่อาวุธยิงหลักเหล่านั้นได้ รวมทั้งต้องมีการลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง และซักซ้อมการตีโต้ตอบด้วย
                 ) ค้นหาข้าศึก ผู้บังคับหมวดปืนเล็กจะค้นหาข้าศึกได้ต่อเมื่อรู้วิธีการรบของข้าศึก วิเคราะห์ลักษณะภูมิประเทศตามวิธีรบของข้าศึก การจัดตั้งที่ตรวจการณ์ตามช่องทางที่คาดว่าข้าศึกน่าจะเคลื่อนที่เข้าหาฝ่ายเรา และต้องทำการลาดตระเวนเชิงรุกเพื่อค้นหาที่ตั้งกำลังของข้าศึกให้พบ
                  ) หลีกเลี่ยงการตรวจจับ (avoid detection) หมวดปืนเล็กจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากการถูกตรวจจับความเคลื่อนไหว โดยฝ่ายข้าศึกด้วยการระวังป้องกันที่มั่นตั้งรับหรือพื้นที่ตั้งรับของหมวดแต่เนิ่นและอย่างต่อเนื่อง ไม่วางกำลังหมู่ปืนเล็กและอาวุธยิงต่าง ตามแนวร่องรอยของธรรมชาติที่มีอยู่ หรือในลักษณะภูมิประเทศที่สังเกตเห็นเด่นชัด และด้วยการพราง  การรักษาวินัยในการใช้แสง เสียงอย่างมีประสิทธิภาพ
            ) ตรึงข้าศึก หมวดปืนเล็กต้องใช้เครื่องกีดขวางทางยุทธวิธีผสมผสานกับการยิง ทั้งแบบเล็งตรงและเล็งจำลอง  เพื่อขัดขวางการเข้าตีของข้าศึกและตรึงข้าศึกไว้ในบริเวณที่จะทำลายด้วยการยิงที่กำหนดไว้
            ) ค้นหาหรือสร้างจุดอ่อน สามารถทำได้โดยทำลายปมการบังคับบัญชาและควบคุมของข้าศึก แยกรูปขบวนการเข้าตีให้ส่วนต่าง ถูกตัดขาดจากส่วนสนับสนุน กดดันให้ข้าศึกจำต้องลงจากยานรบแล้วเดินด้วยเท้า ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนที่ช้าลง และทำให้ยานรบข้าศึกเกิดความล่อแหลมมากขึ้น ใช้เครื่องมือตรวจการณ์ในเวลากลางคืนเพื่อให้ได้เปรียบด้านทัศนวิสัย หรือด้วยการยิงส่องสว่างอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อทำให้ข้าศึกตาพร่ามัว    หรือเพื่อให้การเข้าตีของข้าศึกถูกเปิดเผย
            ) ดำเนินกลยุทธ์เพื่อขยายผลต่อจุดอ่อน เมื่อสร้างจุดอ่อนให้ฝ่ายข้าศึกได้แล้ว หมวดปืนเล็กสามารถขยายผลต่อจุดอ่อนนั้นโดยการเข้าตีโต้ตอบต่อปีกหรือด้านหลังของข้าศึก ด้วยการยิงหรือการดำเนินกลยุทธ์ หมวดปืนเล็กต้องประสานการปฏิบัติ และซักซ้อมส่วนต่าง ของการตีโต้ตอบอย่างรอบคอบ เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างสอดคล้องในการเลื่อนและย้ายการยิง ทั้งยิงเล็งตรงและเล็งจำลอง รวมทั้งต้องพิจารณาถึงกำลังส่วนตามของข้าศึกที่จะมาทำลายการตีโต้ตอบของฝ่ายเราด้วย
            ) การจัดระเบียบใหม่ หมวดและหมู่ปืนเล็กต้องสามารถจัดระเบียบใหม่อย่างรวดเร็วเพื่อทำการตั้งรับต่อไปต่อกำลังข้าศึกที่ติดตามมาอีก
         . การตั้งรับลาดหลังเนิน (Defense on a Reverse Slope) กองร้อยอาวุธเบาหรือหมวดปืนเล็ก สามารถทำการตั้งรับบนลาดหลังเนินได้ (รูปที่ - ) การตั้งรับชนิดนี้จะวางกำลังบนส่วนหนึ่งของเนินหรือสันเขา ซึ่งมีการกำบังอาวุธยิงเล็งตรงและการตรวจการณ์ทางพื้นดิน โดยยอดเนินด้านที่บังทิศทางข้าศึก หมวดปืนเล็กต้องคุ้มครองยอดเนินนี้ให้ได้ด้วยการยิง
            ) ข้อได้เปรียบของการตั้งรับลาดหลังเนิน
                 - กำบังการตรวจการณ์ทางพื้นดินจากฝ่ายข้าศึก
                 - มีเสรีในการเคลื่อนย้ายภายในที่มั่น  เนื่องจากข้าศึกตรวจการณ์ทางพื้นดินไม่พบ
                 - ข้าศึกไม่สามารถใช้อาวุธยิงเล็งตรงยิงต่อที่มั่นฝ่ายเรา
                 - การยิงเล็งจำลองของข้าศึกต่อที่มั่นฝ่ายเราไม่มีประสิทธิภาพ  เนื่องจากขาดการตรวจการณ์ทางพื้นดิน
                 - ฝ่ายตั้งรับสามารถใช้การจู่โจมได้

                 - หากข้าศึกตียึดยอดเนิน จะกลายเป็นหน่วยที่ถูกตัดขาดจากหน่วยสนับสนุนต่าง
            ) ข้อเสียเปรียบของการตั้งรับลาดหลังเนิน
                 - ตรวจการณ์ฝ่ายข้าศึกได้ยากลำบาก  เนื่องจากทหารสามารถมองเห็นได้ไกลสุดเพียงยอดเนินเท่านั้น   จึงไม่สามารถทราบความคืบหน้าในการเคลื่อนที่ของฝ่ายข้าศึกได้ และจะยิ่งลำบากมากขึ้นในระหว่างทัศนวิสัยจำกัด ดังนั้นจึงต้องจัดตั้งที่ตรวจการณ์หลาย แห่งเลยหน้ายอดเนินออกไปเพื่อให้ตรวจการณ์ได้ไกลและแจ้งเตือนแต่เนิ่น
                 - การเคลื่อนที่ออกจากที่มั่นตั้งรับภายใต้ความกัดดันจากข้าศึก ทำได้ยากลำบากกว่าการตั้งรับแบบอื่น
                 -   โดยปกติจะมีพื้นการยิงจำกัด การยิงกวาดอาจทำได้ในระยะน้อยกว่า ๖๐๐ เมตร
                 - การคุ้มครองเครื่องกีดขวางที่วางไว้บนลาดหน้าเนิน ทำได้ด้วยการยิงเล็งจำลอง หรือการยิงเล็งตรงจากหน่วยที่อยู่ทางปีกเท่านั้น   เว้นแต่จะมีการวางอาวุธยิงไว้ข้างหน้าแต่เนิ่น
                 -  หากข้าศึกเข้าตียึดยอดเนินได้ จะสามารถเข้าตีลงมาจากยอดเนิน อาจทำให้ข้าศึกเป็นฝ่ายได้เปรียบทางจิตวิทยา
                 - หากจัดตั้งที่ตรวจการณ์ไม่เพียงพอหรือไม่เหมาะสม ข้าศึกอาจปรากฏตัวขึ้นอย่างฉับพลันในระยะใกล้ โดยฝ่ายตั้งรับไม่ได้รับการแจ้งเตือนมาก่อน
            ) สำหรับหมวดปืนเล็กในแนวหน้าจะอยู่ห่างจากยอดเนินประมาณ ๒๐๐ - ๕๐๐ เมตร ซึ่งจะทำให้มีพื้นการยิงที่ดีที่สุด และขณะเดียวกันก็มีความได้เปรียบจากการใช้ลาดหลังเนินด้วย
            ) หากอยู่ในระยะที่สามารถยิงสนับสนุนกันได้   อาจวางกำลังหมวดปืนเล็กเฝ้าตรวจ (overwatching) ไว้บนลาดด้านหน้าของเนินอีกลูกหนึ่ง ซึ่งอยู่ถัดไปข้างหลัง (counter slope) เพื่อให้ปฏิบัติกิจต่าง ดังนี้
                 - ป้องกันปีก และด้านหลังของกำลังส่วนที่อยู่ข้างหน้า
                 - เพิ่มเติมกำลังยิงให้แก่กำลังส่วนที่อยู่ข้างหน้า
                 - สกัดกั้นการเจาะแนวตั้งรับกำลังส่วนที่อยู่ข้างหน้า
                 - กำบังการถอนตัวให้แก่หน่วยข้างหน้า
                 - ตีโต้ตอบ
            ) ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก ต้องวางแผนการยิงเล็งจำลองในการยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย บนยอดเนินหรือใกล้เคียง เพื่อขัดขวางไม่ให้ข้าศึกเข้ายึดยอดเนิน และเพื่อหยุดการเข้าตีของข้าศึก เมื่อข้าศึกเคลื่อนที่ถึงยอดเนิน
            ) หมวดปืนเล็กแต่ละหมวดต้องจัดตั้งที่ตรวจการณ์ไว้บนยอดเนินหรือเลยหน้ายอดเนินออกไป เพื่อให้สามารถตรวจการณ์เห็นครอบคลุมเขตการยิงของหมวดได้อย่างทั่วถึง ที่ตรวจการณ์เหล่านี้อาจจัดกำลังแตกต่างกันตั้งแต่แห่งละ นาย จนถึง หมู่ปืนเล็ก เพิ่มเติมกำลังด้วยปืนกลหรืออาวุธต่อสู้รถถัง
            ) การวางเครื่องกีดขวาง   ควรวางบริเวณต่ำกว่ายอดเขาลงมาทางด้านกำลังฝ่ายเรา สนธิด้วยแผนการยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย จะทำให้การเข้าตีของข้าศึกต้องหยุดหรือชักช้าลงได้
            ) การปฏิบัติการตั้งรับลาดหลังเนิน คงเหมือนกับการปฏิบัติการตั้งรับลาดหน้าเนินนั่นเอง จะมีแตกต่างกันบ้างในเรื่องที่ตรวจการณ์ต่าง หน้าที่มั่นตั้งรับไม่เพียงแต่ทำหน้าที่แจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึกเท่านั้น แต่จะทำหน้าที่รั้งหน่วง ลวง และทำลายระเบียบในการเข้าตีของข้าศึกด้วยการยิงอีกด้วย หลังจากนั้นจะถอนตัวก่อนที่จะเกิดการรบติดพันกับข้าศึก โดยจุดตรวจการณ์ที่มีปืนกลร่วมอยู่ด้วยจะถอนตัวก่อน เพื่อรีบเข้าที่มั่นหลักของตนก่อนที่ข้าศึกจะถึงยอดเนิน ระหว่างการถอนตัวของที่ตรวจการณ์ต่าง เหล่านี้ อาวุธวิถีโค้งจะยิงลงบนลาดหน้าเนินและบนยอดเนิน เพื่อสกัดกั้นการรุกของข้าศึกไว้ กำลังส่วนใหญ่ในที่มั่นตั้งรับหลักจะยังไม่ทำการยิงจนกว่าข้าศึกจะเคลื่อนที่ข้ามพ้นยอดเนินลงมาจึงเปิดฉากยิงด้วยอาวุธทุกชนิดที่มีอยู่
            ) ในกรณีที่ข้าศึกเข้าตีข้ามยอดเนินมาแล้ว แต่การเข้าตีล้มเหลว ข้าศึกอาจเลือกปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งคือ ถอยกลับ อ้อมผ่าน   หรือพยายามโอบล้อมฝ่ายเรา  เพื่อตอบโต้การปฏิบัติดังกล่าวกำลังส่วนที่ทำหน้าที่เฝ้าตรวจอยู่ต้องวางการยิงไปยังปีกของลาดหน้าเนิน  และกำลังส่วนตั้งรับหลักเองก็ต้องมีที่มั่นเพิ่มเติมที่เหมาะสมและมีเครื่องกีดขวางเพียงพอในทิศทางต่าง ขณะเดียวกันกำลังระวังป้องกันต้องแจ้งเตือนได้ทันการว่าข้าศึกกำลังจะอ้อมผ่าน หรือโอบล้อมที่มั่นตั้งรับ และเพื่อป้องกันยานเกราะ ยานยนต์ หรือกำลังส่วนที่เคลื่อนที่เข้าตีตามเส้นทางเข้ามาทางปีก ผู้บังคับหน่วยฝ่ายตั้งรับทุกระดับควรวางการยิงอาวุธต่อสู้รถถัง และอาวุธกลไปทางปีกของลาดหลังเนิน
         . การตั้งรับรอบตัว (Perimeter Defense) ข้อได้เปรียบประการสำคัญของการตั้งรับรอบตัว (รูปที่ -) คือ หมวดปืนเล็กมีความพร้อมต่อการเข้าตีของข้าศึกทุกทิศทาง ส่วนข้อเสียเปรียบประการสำคัญคือ ไม่มีการรวมอำนาจกำลังรบต่อแนวทางการเคลื่อนที่ของข้าศึกไว้แต่เริ่มแรก การตั้งรับรอบตัวแตกต่างจากการตั้งรับแบบอื่นดังนี้
             - แนวที่มั่นตั้งรับของหมวดมีลักษณะเป็นวงกลมหรือสี่เหลี่ยม แทนที่จะเป็นแนวเส้นตรง
             - พื้นที่รอยต่อระหว่างที่มั่นตั้งรับของหมู่ปืนเล็กแคบกว่า
             - ปีกของหมู่ปืนเล็กโค้งมาข้างหลังเพื่อต่อแนวกันเป็นวงรอบ
             - อำนาจกำลังรบทั้งหมดวางอยู่บนแนวเส้นรอบวง
             - กองหนุน วางกำลังบริเวณจุดศูนย์กลาง
         . การตั้งรับในเขตปฏิบัติการ (Defense in Sector) การตั้งรับนี้เกื้อกูลให้ทหารราบสามารถใช้อำนาจกำลังรบที่มีอยู่ได้สูงสุด เปิดโอกาสให้หมวดปืนเล็กปฏิบัติการรบได้ทั่วทั้งความลึกของเขตปฏิบัติการ โดยใช้วิธีกระจายกำลังและใช้ยุทธวิธีการรบด้วยหน่วยขนาดเล็ก
            ) หมวดปืนเล็กมักได้รับการแบ่งมอบเขตปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งของเขตปฏิบัติการ
กองร้อย (รูปที่ - ) และผู้บังคับหมวดก็อาจแบ่งมอบเขตปฏิบัติการต่อไปให้กับแต่ละหมู่ปืนเล็กอีกก็ได้ เพื่อให้หมู่ปืนเล็กมีเสรีในการปฏิบัติสูงสุดในการตั้งรับ อย่างไรก็ตามผู้บังคับหมวดต้องระลึกว่า หมู่ปืนเล็กไม่สามารถร้องขอการยิงสนับสนุนโดยทางใดได้  นอกจากต้องร้องขอผ่านหมวดปืนเล็กเท่านั้น ในบางโอกาสหมวดอาจได้รับการสมทบผู้ตรวจการณ์หน้า   แต่ผู้บังคับหมวดและผู้บังคับหมู่ต้องสามารถร้องขอและช่วยในการปรับการยิงได้
            หมู่ปืนเล็กแต่ละหมู่ทำการลาดตระเวนอย่างละเอียดภายในเขตปฏิบัติการของตน
เพื่อพิสูจน์ทราบแนวทางเคลื่อนที่ทุกแนวทางที่ข้าศึกอาจใช้ช่องทางบังคับต่าง    พื้นที่สังหาร
เครื่องกีดขวาง ฐานลาดตระเวน และตำบลรวบรวมต่าง รวมทั้งกำหนดที่มั่นตั้งรับขั้นต้น
            ) ผู้บังคับหมวดปืนเล็กเป็นผู้ตกลงใจ ยืนยัน หรือเปลี่ยนแปลงตำบลที่ตั้งต่าง ที่เลือกไว้ขั้นต้น โดยปรับให้สอดคล้องกับแนวความคิดในการปฏิบัติของหมวด (รูปที่ - ) แล้วกำหนดที่มั่นตั้งรับขั้นต้นและตามลำดับขั้นซึ่งอาจต้องเข้าวางกำลังในอนาคต รวมทั้งให้คำแนะนำที่จำเป็นแก่หมู่ปืนเล็กเกี่ยวกับการวางแผนเผชิญเหตุ การกำหนดจุดนัดพบและคำแนะนำในการประสานงานอื่น
            ) ผู้บังคับหมู่ปืนเล็ก เตรียมการตั้งรับตามลำดับขั้นตามที่ผู้บังคับหมวดกำหนดให้ โดยปกติจะเริ่มเตรียมที่มั่นตั้งรับหลักขั้นต้นก่อน ต่อจากนั้นเตรียมที่มั่นเพิ่มเติมเร่งด่วนแล้วจึงเตรียมที่มั่นสำรองตามลำดับ หลังจากนั้นทำการปรับปรุงที่มั่นต่างๆ อย่างต่อเนื่องเท่าที่เวลาจะอำนวยให้
) เมื่อได้รับแจ้งเตือนการเข้ามาของข้าศึกจากส่วนระวังป้องกัน หมู่ปืนเล็กจะเข้าประจำที่มั่นตั้งรับหลักพร้อมทำการรบกับข้าศึก เตรียมการซุ่มโจมตีหากข้าศึกเคลื่อนที่เข้าสู่ช่องทางบังคับหรือพื้นที่สังหาร การรบติดพันกับข้าศึกจะยังไม่รบแตกหัก แต่จะเคลื่อนที่ผละไปข้างหลังแล้วดำเนินการเช่นเดียวกับครั้งแรก ผู้บังคับหมู่ต้องวางแผนการผละจากการรบ(disengagement) ไว้ล่วงหน้า การยิงคุ้มครองจากที่มั่นอื่นๆ การใช้ควัน และการซักซ้อม เป็นปัจจัยสำคัญในการผละจากการรบได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
             เทคนิคการปฏิบัติอาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัย METT-T เป็นประการสำคัญ แต่ในรูปแบบการรบของการตั้งรับจะเป็นไปในลักษณะนี้เหมือนกันหมด ตัวอย่างของเทคนิคต่าง ดังกล่าวคือ
               ) ปล่อยให้ข้าศึกอ่อนแรงลงเรื่อยๆ เพราะการกระทำของข้าศึกเอง ที่ต้องต่อต้านการซุ่มโจมตีของฝ่ายเราครั้งแล้วครั้งเล่า หลังจากนั้นทำการตีโต้ตอบอย่างรุนแรงตามแนวทางเคลื่อนที่ที่ฝ่ายเราได้ซักซ้อมไว้แล้ว เพื่อทำลายข้าศึกอย่างเด็ดขาด ผู้บังคับหมวดปืนเล็กอาจเลือกใช้วิธีหนึ่งคือ : เตรียมกำลังส่วนใหญ่ของหมวดที่จะใช้รบแตกหักไว้ในความควบคุมโดยตรง เพื่อสั่งใช้ได้ทันทีเมื่อถึงเวลารบแตกหัก  (ตีโต้ตอบ) หรืออาจสั่งให้รวมกำลังภายหลัง จุด นัดพบเมื่อถึงเวลารบแตกหัก (ตีโต้ตอบ) โดยกำหนดสัญญาณรวมกำลังไว้ก่อนล่วงหน้าก็ได้
               ) กำลังส่วนซุ่มโจมตีที่วางไว้หน้าสุด ระงับการยิงไว้ก่อน จนกว่า ข้าศึกเคลื่อนที่ผ่านเลยไปจนเข้าสู่พื้นที่ซุ่มโจมตีของหน่วยถัดไปทางลึก เพื่อคอยซุ่มโจมตีข้าศึกขบวนถัดไป เทคนิคนี้สามารถทำลายความเป็นปึกแผ่นของข้าศึกได้ และจะได้ผลดีอย่างยิ่งหากสามารถซุ่มโจมตีทำลายส่วนบังคับบัญชา (command group) ของข้าศึกได้
               ) วางแผนการยิงสนับสนุนจากระบบอาวุธเล็งจำลอง ตำบลซุ่มโจมตี และตามเส้นทางเคลื่อนที่เพื่อเพิ่มการสูญเสียกำลังพลฝ่ายข้าศึก
            ) สิ่งที่จะทำได้ยากลำบาก หากใช้เทคนิคการตั้งรับแบบนี้คือ การส่งกลับผู้ป่วยเจ็บ การส่งกำลัง สป. และน้ำเพิ่มเติม
         . การสนับสนุนซึ่งกันและกันในที่มันรบ (Mutually Supporting Battle Positions) หมวดและหมู่ปืนเล็กใช้เทคนิคการตั้งรับแบบนี้ เพื่อรวมอำนาจกำลังยิงไปยังพื้นที่โจมตี (engagement area) ที่ได้รับมอบ และเพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายข้าศึกทราบแผนการตั้งรับเป็นส่วนรวม
            ) ผู้บังคับหมวดและผู้บังคับหมู่ต้องจัดเตรียมที่มั่นให้มีความลึก สามารถวางการยิงครอบคลุมแนวทางเคลื่อนที่ทุกแนวทาง และมีเขตการยิงทาบทับกัน แต่ละที่มั่นต้องสามารถยิงสนับสนุนซึ่งกันและกันได้ และสามารถทำการยิงไปยังปีกหรือด้านหลังของข้าศึกได้ ผู้บังคับหน่วยจะต้องสนธิเครื่องกีดขวางเข้ากับแผนการยิง เพื่อให้ข้าศึกเคลื่อนที่ช้าลงหรือหยุดลง ณ พื้นที่โจมตี รวมทั้งการใช้สนามทุ่นระเบิดร่วมด้วย หมู่ปืนเล็กแต่ละหมู่จัดกำลังลาดตระเวนระวังป้องกันด้านหน้าที่มั่น ทำการขัดขวางข้าศึก ทำลายระเบียบ และสร้างความสับสนลวง ข้าศึกให้เข้าใจผิดว่าเป็นที่มั่นตั้งรับหลัก
หมายเหตุ : หลุมบุคคลต่าง จะไม่วางบนแนวทางการเคลื่อนที่ของข้าศึก
             ) ปัจจัยสำคัญของความสำเร็จในการใช้เทคนิคนี้ อยู่ที่การกำหนดที่ตั้งของที่มั่นรบของหมู่ การกำหนดและจัดระเบียบพื้นที่โจมตี และมาตรการควบคุมการยิง ผู้บังคับหมวดต้องวางกำลังหมู่ปืนเล็ก ให้สอดคล้องกับแนวทางการเคลื่อนที่ของข้าศึก และกำหนดมาตรการควบคุมที่จำเป็นในการรวมอำนาจการยิงไปยังข้าศึกที่อยู่ในเขตปฏิบัติการ
            ) ตัวอย่างวิธีการต่าง ในการใช้เทคนิคนี้ได้แก่  
                 - เปิดฉากการยิงพร้อมกัน แล้วถอนตัวเมื่อสั่ง
                 - เปิดฉากการยิงทีละหน่วย   เมื่อข้าศึกเริ่มทำการยิงและเริ่มจะดำเนินกลยุทธ์ต่อหน่วยที่เปิดฉากการยิงนั้น ส่วนที่เหลือจึงเปิดฉากการยิง จากนั้นหน่วยที่เปิดฉากการยิงเป็นหน่วยแรก ถอนตัวทันทีที่การยิงจากข้าศึกเบาบางลง โดยอาจถอนตัวไปยังที่มั่นรบแห่งใหม่หรือไปยังจุดนัดพบของหมวดก็ได้
                 - ดำเนินกลยุทธ์เพื่อป้องกันการถอนตัวหรือเพิ่มเติมกำลังของฝ่ายข้าศึก
                 - กำหนดพื้นที่โจมตีไว้มากกว่า แห่ง มีที่มั่นเพิ่มเติม และที่มั่นรบที่กำหนดให้เข้าประจำที่เมื่อสั่ง และกำหนดเขตการยิงรอง (secondary sectors of fire) เพื่อรวมอำนาจการยิงไปยังพื้นที่โจมตีที่ต้องการ
         . มาตรการควบคุม ผู้บังคับหมวดใช้มาตรการควบคุม  เพื่อกำหนดความรับผิดชอบ ประสานการยิงและการดำเนินกลยุทธ์ ควบคุมการปฏิบัติการรบและเพื่อให้หน่วยรองมีความเข้าใจแนวความคิดในการปฏิบัติของหมวดอย่างชัดเจน นอกจากนี้มาตรการควบคุมยังมีไว้เพื่อให้มั่นใจว่า ได้มีการวางอำนาจการยิงอย่างทั่วถึงทั่วทั้งพื้นที่รับผิดชอบของหมวด  มีการวางที่มั่นรบขั้นต้นและกำหนดขั้นตอนการดำเนินกลยุทธ์ของหมู่ปืนเล็กอย่างเหมาะสม
            ) มาตรการควบคุมที่เป็นสัญลักษณ์ ใช้ในการตั้งรับประกอบด้วย เขตปฏิบัติการ (sectors) ที่มั่นรบ (battle positions)  เส้นแบ่งเขต จุดติดต่อ จุดประสานการปฏิบัติ ขอบหน้าพื้นที่การรบ จุดต้านทานแข็งแรง (strong points)  จุดอ้างอิงเป้าหมาย (target reference point : TRP) ที่รวมพล แนวขั้น จุดส่งผ่าน หรือช่องทางส่งผ่าน จุดแยก และพื้นที่โจมตี
            ) คำสั่งยิงและมาตรการควบคุมการยิง ทั้งอาวุธประจำกายและอาวุธประจำหน่วยถือว่าเป็นมาตรการควบคุมแบบหนึ่งของผู้บังคับหน่วย    มาตรการควบคุมการยิงของอาวุธต่าง 
ประกอบด้วยแผ่นจดระยะ เขตการยิง ทิศทางการยิงหลัก แนวยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย การยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย  และจุดอ้างอิงเป้าหมาย ซึ่งเกือบทั้งหมดจะปรากฏอยู่ในแผ่นจดระยะ รายละเอียดและตัวอย่างจะกล่าวไว้ในบทที่ นอกจากนี้ยังมีมาตรการควบคุมอาวุธต่อสู้รถถัง ปืนกล ชุดยิง หมู่ปืนเล็ก และหมวดปืนเล็ก ด้วยการกำหนดลำดับความเร่งด่วนของเป้าหมาย และคำสั่งยิงเป็นต้น
         . เครื่องกีดขวาง หากใช้ได้อย่างเหมาะสมจะเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับการตั้งรับ หมวดและหมู่ปืนเล็กต้องผสมผสานการใช้เครื่องกีดขวางทั้งตามธรรมชาติและที่สร้างขึ้นให้เป็นประโยชน์สูงสุดแก่การตั้งรับ รวมทั้งการใช้สนามทุ่นระเบิดและลวดหนามด้วย
             ) ข้อพิจารณา ผู้บังคับหมวดต้องสนธิแผนฉากขัดขวางเข้ากับแผนการยิงทั้งเล็งตรงและเล็งจำลอง และให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินกลยุทธ์ด้วย ทั้งต้องมีการคุ้มครองเครื่องกีดขวางด้วยการตรวจการณ์และการยิง การป้องกันการรื้อถอนเครื่องกีดขวาง อาจทำได้โดยใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล ลวดสะดุดและเครื่องมือแจ้งเตือนต่างๆ ที่ซ่อนพรางไว้ให้กลมกลืนกับลักษณะภูมิประเทศ ในบทที่ จะกล่าวถึงเทคนิคการใช้เครื่องกีดขวาง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญทั้งในระดับหมู่และหมวดปืนเล็ก
            ) ประเภทของเครื่องกีดขวางลวดหนาม แบ่งออกเป็น ประเภท ตามลักษณะการใช้และตำบลที่วาง โดยปกติจะจัดให้การวางลวดหนามทางยุทธวิธีเป็นความเร่งด่วนลำดับแรก  แต่ผู้บังคับหน่วยสามารถจัดการวางเครื่องกีดขวางให้ใช้ได้ทั้งทางยุทธวิธีและป้องกันตนเองได้  โดยการใช้เครื่องกีดขวางเพียงชนิดเดียวก็ได้
               ) ลวดหนามทางยุทธวิธี เป็นลวดหนามที่วางขนานตามแนวยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้ายของอาวุธประจำหน่วย ลวดหนามทางยุทธวิธีจะทำหน้าที่รั้งหน่วงข้าศึกไว้ในพื้นที่ ที่สามารถสังหารหรือสร้างความสูญเสียโดยอาวุธอัตโนมัติ  ระเบิดเคลย์โม ระเบิดขว้างและปืนกลได้ดีที่สุด
               ) ลวดหนามป้องกันตน    มีไว้เพื่อป้องกันการโจมตีอย่างจู่โจมของข้าศึกในระยะใกล้  โดยทั่วไปจะวางไว้ในระยะที่ปลอดภัยจากการใช้ลูกระเบิดขว้างของข้าศึก และต้องสามารถตรวจการณ์เห็นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
               ) ลวดหนามเพิ่มเติม หมวดและหมู่ปืนเล็กจัดวางลวดหนามเพื่อลวงแนวที่แท้จริงของลวดหนามยุทธวิธี และเพื่อเชื่อมต่อแนวเครื่องกีดขวางตามแผนฉากขัดขวางของกองร้อย
- การระวังป้องกัน
         การระวังป้องกัน หมายถึง มาตรการที่หมวดและหมู่ปืนเล็กใช้เพื่อต่อต้านการปฏิบัติใด ของข้าศึกที่จะเป็นการลดประสิทธิภาพในการรบของหน่วย เช่น การหลีกเลี่ยงจากการถูกตรวจจับจากฝ่ายข้าศึกหรือการลวงข้าศึกเกี่ยวกับที่ตั้ง และเจตนารมณ์ฝ่ายเรา รวมถึงการค้นหาข้าศึกและการรู้ถึงที่ตั้งหน่วยและเจตนารมณ์ของฝ่ายข้าศึกด้วย การระวังป้องกันจะช่วยให้หน่วยมีเสรีในการปฏิบัติและดำรงความเป็นฝ่ายริเริ่มได้ การปฏิบัติการทุกชนิดของหมวดปืนเล็กล้วนต้องมีการระวังป้องกันทั้งสิ้น ทั้งหมวดและหมู่ปืนเล็กต้องระวังป้องกันตนเองเสมอ ไม่ว่าจะเคลื่อนที่ เข้าตี หรือตั้งรับก็ตาม ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกำลังส่วนใหญ่ หมวดปืนเล็กอาจได้รับมอบภารกิจระวังป้องกันในเรื่องเกี่ยวกับการลาดตระเวน การจัดตั้งที่ตรวจการณ์ระดับหมู่ตามแนวระวังป้องกัน หรือเป็นกำลังส่วนล่วงหน้า กองกระหนาบ หรือกองระวังหลัง ให้กับกำลังส่วนใหญ่ในการเคลื่อนที่เข้าปะทะก็ได้
         . การระวังป้องกันระหว่างเคลื่อนที่ หมวดและหมู่ปืนเล็กสามารถเพิ่มความปลอดภัยในระหว่างเคลื่อนที่ได้โดย
            - ใช้รูปขบวนและเทคนิคการเคลื่อนที่ที่เหมาะสม
            - เคลื่อนที่ให้เร็วที่สุดเท่าที่สถานการณ์จะอำนวยให้ ซึ่งจะช่วยลดความสามารถในการตรวจจับของข้าศึก หรือหากตรวจจับได้ก็ทำการยิงไม่ได้ผล
            - เคลื่อนที่ตามแนวภูมิประเทศที่มีการกำบังและซ่อนพราง
            - รักษาวินัยการใช้แสงและเสียง
            - ใช้เทคนิคการพรางอย่างเหมาะสม
         . การระวังป้องกันในการรบด้วยวิธีรุก ประกอบด้วยการลาดตระเวนและระวังป้องกัน หรือเพื่อค้นหาที่ตั้งข้าศึก และป้องกันกำลังฝ่ายเราจากการจู่โจม เมื่อปะทะข้าศึกสามารถรักษาเสรีในการปฏิบัติไว้ได้ ในขณะเดียวกันหมวดและหมู่ปืนเล็ก ยังต้องรับผิดชอบระวังป้องกันหน่วยของตนเองด้วย ในบางกรณีอาจได้รับมอบกิจเฉพาะให้ลาดตระเวนระวังป้องกันตามแผนของกองร้อย หรือกองพัน หมวดและหมู่ปืนเล็กจะปฏิบัติกิจเฉพาะดังกล่าวให้สำเร็จได้ด้วยการลาดตระเวน จัดตั้งที่ตรวจการณ์  และเคลื่อนที่โดยใช้รูปขบวนและเทคนิคการเคลื่อนที่ที่เหมาะสม
         . การระวังป้องกันในการรบด้วยวิธีรับ  หมวดและหมู่ปืนเล็กใช้มาตรการระวังป้องกันทั้งเชิงรุกและเชิงรับ รวมทั้งการปฏิบัติต่างๆ ที่จะขัดขวางกำลังส่วนลาดตระเวนของข้าศึกไม่ให้ทราบที่ตั้งที่แท้จริงของฝ่ายเรา ทั้งนี้ด้วยการทำลายกำลังส่วนลาดตระเวนของข้าศึก หรือด้วยการลวงข้าศึก
            ) มาตรการเชิงรุกประกอบด้วย
                 - การจัดตั้งที่ตรวจการณ์และการลาดตระเวน
                 - การจัดให้มีการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ในระดับต่าง     โดยใช้ปัจจัย
  METT-T เป็นข้อพิจารณา
                 - การจัดให้มีการเข้าประจำแนวพร้อมรบตามห้วงเวลา โดยกำหนดรายละเอียดไว้ใน  รปจ.
            ) มาตรการเชิงรับประกอบด้วยการพราง การควบคุมการเคลื่อนที่ วินัยการใช้ แสง เสียง  ระเบียบการใช้วิทยุ - โทรศัพท์ การใช้เครื่องมือตรวจการณ์เวลากลางคืน รวมทั้งเครื่องมือตรวจการณ์ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนสำหรับอาวุธต่อสู้รถถัง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การก่อการร้ายทางนิวเคลียร์และรังสี

การกำหนดภัยคุกคาม การยึดอาวุธนิวเคลียร์แบบไม่บุบสลาย ผู้เชี่ยวชาญมักจำแนกการก่อการร้ายด้วยอาวุธนิวเคลียร์และรังสีออกเป็นภัยคุกคามสี่ปร...