ตอนที่ ๕
การรบด้วยวิธีรับ
เนื้อหาของตอนที่
๕ นี้ จะกล่าวตามลำดับหัวข้อ ๓ - ข
บทที่ ๕ เรื่องลำดับขั้นตอนของงานในการตั้งรับ ตามที่กำหนดไว้ใน รปจ. ของหมวด
๒ - ๑๕ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ
ลำดับขั้นตอนมาตรฐานของหมวดปืนเล็กในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ประกอบด้วย
การวางแผน การตกลงใจ และการปฏิบัติ โดยยึดถือเอาตามการตกลงใจในขั้นการปฏิบัติที่สำคัญ
ๆ ของผู้บังคับหมวดเป็นหลัก
ลำดับขั้นตอนที่เป็นมาตรฐานดังกล่าว ได้แก่
-
การเตรียมกำลังเข้าทำการรบ
-
การเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่ตั้งรับ
-
การสถาปนาพื้นที่ตั้งรับ
-
การค้นหาข้าศึก
-
การเริ่มต้นปะทะหรือตอบโต้การปะทะกับข้าศึก
-
ดำเนินการตั้งรับ
-
การจัดระเบียบใหม่
ก. การเตรียมกำลังเข้าทำการรบ
ผู้บังคับหมวดได้รับคำสั่งเตือน
หรือคำสั่งยุทธการจากผู้บังคับกองร้อย
แล้วปฏิบัติดังนี้
๑) รีบออกคำสั่งเตือน
๒) ผู้บังคับหมวดเริ่มวางแผนขั้นต้น
โดยการประมาณสถานการณ์ และการวิเคราะห์ปัจจัย METT – T
๓) หากสามารถทำได้ ผู้บังคับหมวด (และผู้บังคับหมู่ ) ทำการลาดตระเวนตรวจภูมิประเทศพื้นที่ตั้งรับและเส้นทางไปยังพื้นที่ตั้งรับ
การลาดตระเวนดังกล่าวต้องมีชุดระวังป้องกันอย่างน้อยที่สุดสองคน การตรวจภูมิประเทศของผู้บังคับหมวด จะต้อง
ก) ดำรงการระวังป้องกันตลอดเวลา
ข) ตรวจสอบว่ามีที่ตั้งข้าศึก
หรือร่องรอยการปฏิบัติของข้าศึกที่ผ่านมา
เครื่องกีดขวาง
กับระเบิดแสวงเครื่อง หรือมีพื้นที่เปื้อนพิษ นชค. หรือไม่
ค) ตกลงใจหรือปรับแก้ที่ตั้งและเขตการยิงของหมู่ ตามที่กำหนดไว้แล้วในแผนขั้นต้น (โดยปกติผู้บังคับหมวดจะกำหนดและปรับแก้ที่ตั้งยิงปืนกล และอาวุธต่อสู้รถถังด้วย ) ผู้บังคับหมวดอาจปรับแก้แผนของตนตามความจำเป็น
ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์และประเมินค่าปัจจัย
METT – T เพิ่มเติม
ง) หลังจากชุดลาดตระเวนของหมวดกลับมาแล้ว
ผู้บังคับหมวดจะจัดตั้งชุดเฝ้าตรวจและนำทางวางไว้ตามแนวเส้นทางเคลื่อนที่ เพื่อให้การระวังป้องกันและนำทางในการเคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่ตั้งรับของหมวด
๔) จากผลการลาดตระเวน และข่าวสารอื่น ๆ ที่ได้รับเพิ่มเติม ผู้บังคับหมวดจะทำแผนสมบูรณ์ และออกคำสั่งแก่หน่วยรองต่อไป
๕) ผู้บังคับหมู่ทุกคนตรวจ (รองผู้บังคับหมวดสุ่มตรวจ)
อาวุธ
เครื่องมือสื่อสาร
และชิ้นส่วนประกอบต่าง ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า
มีครบและใช้การได้ทั้งเป็นบุคคลและเป็นหน่วย
๖) รองผู้บังคับหมวดตรวจสอบ สป.๕ สป.๑ น้ำ
และ สป.สายแพทย์ที่มีอยู่ และที่ผู้บังคับหมวดกำหนดให้มี (หมวด และหมู่ปืนเล็กควรวางแผน เบิก – รับ สป.๕ อีก ๑ อัตรามูลฐาน สำหรับวางไว้บนแนวตั้งรับด้วย)
๗) ทหารทุกคนทำการพรางตนเอง และอาวุธยุทโธปกรณ์ให้กลมกลืนกับภูมิประเทศ
๘) หมวดทำการซักซ้อมการปฏิบัติ
โดยซักซ้อมกิจสำคัญ ( critical
tasks ) ก่อนเป็นลำดับแรก
ก) ผู้บังคับหมวดทำการตรวจขั้นสุดท้ายต่ออาวุธ (ทดสอบการยิงหากทำได้)
ยุทโธปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ (รวมทั้งตรวจสอบระบบการติดต่อสื่อสาร
) และตรวจเป็นบุคคล (รวมทั้งตรวจการพราง)
รองผู้บังคับหมวดกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดในเรื่อง แผนการบรรทุกเป็นบุคคลของทหาร
เพื่อให้มั่นใจว่าทหารแต่ละคนมีสิ่งของที่จำเป็นตามที่กำหนดไว้ใน รปจ.
และไม่มากจนเกินความจำเป็น
ข) หากมีการจัดส่วนล่วงหน้า
ผู้บังคับหมวด
รองผู้บังคับหมวด และ ผบ.ส่วนล่วงหน้า (ตามปกติจะเป็นผู้บังคับหมู่ปืนเล็กคนใดคนหนึ่ง)
ทำการตรวจการปฏิบัติของส่วนล่วงหน้าและแจกจ่ายสิ่งอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็น (เช่น ขาทราย และหลักเขตการยิง
เป็นต้น ) (ดูบทที่ ๕)
๙) หากไม่อยู่ระหว่างเคลื่อนที่
ผู้บังคับหมวดจะเป็นผู้ริเริ่มการเคลื่อนย้ายที่จำเป็นของหมวด
ข. การเคลื่อนที่ไปยังที่มั่นตั้งรับ
ใช้หลักพื้นฐานของการเคลื่อนย้ายดังนี้
๑) ใช้เส้นทางที่มีการกำบังและซ่อนพราง
๒) หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่อาจถูกซุ่มโจมตี
๓) เน้นวินัยการพราง การใช้เสียง และแสง
๔) ดำรงการระวังป้องกันรอบตัว
รวมทั้งยามเฝ้าตรวจทางอากาศ
๕) ใช้รูปขบวนและเทคนิคการเคลื่อนที่ตามปัจจัย METT – T
ค. สถาปนาที่มั่นตั้งรับ
หมวดปืนเล็กหยุดการเคลื่อนที่ก่อนถึงที่มั่นตั้งรับเล็กน้อย โดยใช้ภูมิประเทศที่ให้การกำบังและซ่อนพราง หลังจากนั้นจัดตั้งชุดระวังป้องกันเฉพาะบริเวณบนแนวที่มั่น
๑) ผู้บังคับหมวดและผู้บังคับหมู่
พร้อมด้วยชุดระวังป้องกัน (อย่างน้อย ๒ คน) เคลื่อนที่ไปยังชุดระวังป้องกันเฉพาะบริเวณบนแนวที่มั่น
-
ผู้บังคับหมู่กลับมายังที่ตั้งหมวด
แล้วนำกำลังแต่ละหมู่ปืนเล็กขึ้นไปยังแนวที่มั่นตั้งรับ
ข) หมวดปืนเล็กเริ่มยึดครองที่มั่นตั้งรับที่กำหนด
ชุดเฝ้าตรวจและนำทางนำกำลังของหมวดเข้าสู่ที่มั่น
๒) เมื่อวางกำลังในที่มั่นตั้งรับแล้ว
ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก
กำกับดูแลให้หน่วยปฏิบัติตามลำดับความเร่งด่วนของงานที่กำหนด
นอกจากนั้นแล้วผู้บังคับหมวดควรปฏิบัติเพิ่มเติมดังนี้
-
เดินออกไปหน้าแนวถ้าทำได้
แล้วมองย้อนกลับมายังแนวที่มั่นเพื่อตรวจสอบการพราง และพื้นที่อับกระสุน สิ่งสำคัญที่สุดของที่มั่นรบทหารราบคือ จะต้องไม่ถูกตรวจพบก่อนเวลาอันควร
-
ตรวจการสร้างลวดหนามและสนามทุ่นระเบิด
ให้แน่ใจได้ว่าแนวลวดหนามป้องกันตนอยู่ห่างจากแนวที่มั่นพ้นระยะขว้างลูกระเบิด
และแนวลวดหนามยุทธวิธีวางถัดจากแนวยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้ายเข้ามาทางแนวที่มั่นฝ่ายเรา
-
ชี้แจงเพิ่มเติมแก่รองผู้บังคับหมวดเรื่องแผนการส่งกำลังบำรุง
(รวมทั้งการส่งกำลัง สป.เพิ่มเติม และเส้นทางการส่งกลับผู้ป่วยเจ็บ )
-
ออกคำสั่งสุดท้ายของหมวด
(กรณีที่มีการแก้ไข )
และตรวจสอบความรู้
ความเข้าใจของทหาร (ทหารทุกคนต้องทราบหน่วยทหารฝ่ายเดียวกันที่อยู่ด้านหน้าที่มั่นตั้งรับ
เช่น หน่วยลาดตระเวน เฝ้าตรวจต่าง ๆ )
และเส้นทางที่หน่วยเหล่านั้นจะเคลื่อนที่กลับมา รวมทั้งต้องทราบสัญญาณและเงื่อนไขต่าง ๆ
ในการเริ่มยิง ย้ายการยิง ยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย
และหยุดยิง การเข้าประจำที่มั่นสำรอง และที่มั่นเพิ่มเติม เป็นต้น
๓) หมวดปืนเล็ก ปรับปรุงที่มั่นตั้งรับอย่างต่อเนื่อง
ง. การค้นหาที่ตั้งข้าศึก
หมวดปืนเล็กจัดตั้งและดำรงจุดตรวจการณ์และทำการลาดตระเวนระวังป้องกันตามที่ผู้บังคับกองร้อยกำหนด
การค้นหาที่ตั้งข้าศึกทำได้โดยการลาดตระเวน การตรวจการณ์
การเห็นและการได้ยินของทหารเป็นบุคคล
ด้วยการใช้เครื่องมือเฝ้าตรวจเวลากลางคืน
กล้องส่องสองตาและเชลยศึก เพื่อตรวจจับการเข้ามาของข้าศึก
จ. การปฏิบัติเมื่อปะทะข้าศึก
ทันทีที่ค้นพบข้าศึก
ผู้บังคับหมวดควรปฏิบัติดังนี้
-
แจ้งเตือนผู้บังคับหมู่ รองผู้บังคับหมวด
และผู้ตรวจการณ์หน้าที่มาประจำอยู่ด้วย
ให้พร้อมปฏิบัติ
-
รายงานสถานการณ์ให้ผู้บังคับกองร้อยทราบ
- เรียกกำลังพลที่ประจำที่ตรวจการณ์กลับเข้าที่มั่น แต่ผู้บังคับหมู่หรือผู้บังคับหมวดอาจตัดสินใจให้กำลังพลประจำอยู่ ณ
ที่ตรวจการณ์ต่อไป หากยังคงสามารถยิงทางปีกอย่างมีประสิทธิภาพ
และที่ตั้งที่ตรวจการณ์สามารถให้การกำบัง – ซ่อนพรางได้ และที่สำคัญคือ หากเรียกกำลังพลกลับเข้าที่มั่น
จะเป็นการเปิดเผยให้ข้าศึกรู้แนวที่มั่นตั้งรับของฝ่ายเรา
-
ร้องขอและปรับการยิงอาวุธยิงเล็งจำลอง
เมื่อข้าศึกเข้ามาอยู่ในระยะที่สามารถทำการยิงทำลายได้สูงสุด
-
เริ่มทำการยิงอาวุธยิงเล็งตรง ตั้งแต่ระยะไกล ในเขตของหมวดตามคำสั่งของผู้บังคับกองร้อย
-
กำลังพลทุกส่วนกลับเข้าประจำที่มั่นตั้งรับของตน และพร้อมรับคำสั่งจากผู้บังคับหมวดต่อไป
ฉ. การดำเนินการตั้งรับ
ผู้บังคับหมวดพิจารณาว่าจะสามารถทำลายกำลังข้าศึกจากที่มั่นตั้งรับปัจจุบันได้หรือไม่
๑) หากคำตอบคือ
“ ได้ ” หมวดปืนเล็กจะทำการสู้รบต่อไป
-
ผู้บังคับหมวดหรือผู้ตรวจการณ์หน้า ยังคงร้องขอและปรับการยิงอาวุธยิงเล็งจำลองต่อไปในขณะที่ข้าศึกเคลื่อนที่ใกล้เข้ามา หมวดปืนเล็กจะเปิดฉากการยิงเล็งตรงต่อเมื่อข้าศึกเข้ามาอยู่ในระยะยิงหวังผลสูงสุด โดยเปิดฉากการยิงและรวมอำนาจการยิงในเวลาเดียวกันเพื่อจู่โจมต่อข้าศึก อาวุธที่มีระยะยิงไกลจะวางแผนการยิงร่วมกับเครื่องกีดขวาง เพื่อทำลายรูปขบวนการเคลื่อนที่ หน่วงเหนี่ยวการเคลื่อนที่ ( channelize
) ของข้าศึกเข้าสู่พื้นที่เตรียมทำลาย ( engagement area )
ป้องกันหรือจำกัดขีดความสามารถของข้าศึกในการตรวจการณ์ต่อที่ตั้งหน่วยทหารฝ่ายเราให้เหลือน้อยที่สุด และยิงทำลายเมื่อข้าศึกพยายามจะทำการเจาะผ่านเครื่องกีดขวางทางยุทธวิธีของฝ่ายเรา
ข) ผู้บังคับหน่วยต่าง ๆ ควบคุมการยิงของหน่วยด้วยคำสั่งยิงมาตรฐาน พลุสัญญาณและสัญญาณต่าง ๆ ที่กำหนดไว้แล้วล่วงหน้า หมวดปืนเล็กเพิ่มความรุนแรงของอำนาจการยิงโดยการเพิ่มอาวุธอื่นร่วมทำการยิง เมื่อข้าศึกเข้ามาอยู่ในระยะยิงของอาวุธเหล่านั่น ผู้บังคับหมู่จะสามารถรักษาอัตราการยิงภายในหมู่ให้ต่อเนื่องได้โดยการจัดทหารเป็นทีมคู่ ( buddy team ) เพื่อผลัดเปลี่ยนกันยิงในขณะที่คนใดคนหนึ่งจำเป็นต้องหยุดยิง เช่น ขณะเปลี่ยนซองกระสุน เป็นต้น
ค) ในการวางอำนาจการยิงและควบคุมการยิง ผู้บังคับหมวดและผู้บังคับหมู่ควรพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
-
ระยะจากอาวุธถึงข้าศึก
-
ลำดับความสำคัญของเป้าหมาย (จะยิงอะไร ยิงเมื่อไหร่ และยิงทำไม)
-
เป้าหมายที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือที่อันตรายที่สุด
-
การย้ายการยิง ( shift fire ) เพื่อรวมอำนาจการยิงบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ตามความริเริ่มของหน่วยเอง หรือตามคำสั่งของหน่วยเหนือ
-
ขีดความสามารถของหมวดในการยิงต่อทหารราบยานเกราะที่ลงรบเดินดินด้วยการยิงกวาด
-
ขีดความสามารถของหมวดในการใช้อาวุธต่อสู้รถถังทางปีก เพื่อทำลายยานรบข้าศึก
ง) เมื่อข้าศึกเข้ามาใกล้แนวลวดหนามป้องกันตน ผู้บังคับหมวดจะเริ่มการยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย ( final
protective fire – FPF ) การปฏิบัติต่าง ๆ จะเกิดขึ้นพร้อมกันดังนี้
-
ปืนกล และอาวุธอัตโนมัติทำการยิงในแนวทิศทางยิงหลัก (principle
direction of fire – PDF ) หรือยิงในแนวป้องกันขั้นสุดท้าย ( final
protective line – FPL) ตามที่กำหนดแนวไว้และวางแผนการยิงไว้แล้ว อาวุธอื่น ๆ ทำการยิงในแนวทิศทางยิงหลักที่กำหนดไว้ เครื่องยิงลูกระเบิด M.203 ยิงข้าศึกบริเวณพื้นที่อับกระสุน และข้าศึกที่กำลังพยายามเจาะผ่านแนวลวดหนามป้องกันตน
-
ใช้ทุ่นระเบิดสังหารบุคคลเคลย์โม และลูกระเบิดขว้าง
-
ร้องขอการยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้ายด้วยอาวุธยิงเล็งจำลอง หากหน่วยเหนือวางแผนไว้ให้
จ) หมวดปืนเล็กดำเนินการตั้งรับต่อไปจนกว่าจะผลักดันข้าศึกได้ หรือจนกว่าจะได้รับคำสั่งให้ผละจากการรบ
๒) หากคำตอบคือ “ ไม่ได้ ” ผู้บังคับหมวดปฏิบัติดังนี้
-
รายงานสถานการณ์ให้ผู้บังคับกองร้อยทราบ
ข) ทำการยิงต่อไป หรือเปลี่ยนย้ายที่มั่นของหมวด (หรือหมู่ใดหมู่หนึ่ง/หลายหมู่ภายในหมวด ทั้งนี้ตามคำสั่งของผู้บังคับกองร้อยเท่านั้น เพื่อ
-
ทำการยิงภายในที่มั่นของหมวด (พื้นที่เตรียมทำลาย : engagement area)
-
เข้าประจำที่มั่นเพิ่มเติม
-
เพิ่มเติมกำลังให้กับส่วนอื่นของกองร้อย
-
ตีโต้ตอบเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งเพื่อแย่งยึดที่มั่นคืน
-
ผละออกจากที่มั่นซึ่งไม่สามารถตั้งรับต่อไปได้ ด้วยการยิงประกอบการเคลื่อนที่ผละออกจากข้าศึก (ผู้บังคับหมวดจะไม่ผละออกจากที่มั่น หากพิจารณาเห็นว่าจะทำให้สูญเสียความเป็นปึกแผ่นของกองร้อย การเปลี่ยนย้ายที่มั่นของหมวดหรือหมู่ จะต้องมีการซักซ้อมการปฏิบัติอย่างละเอียด)
หมายเหตุ : ในการเคลื่อนที่ผละออกจากที่มั่นตั้งรับ หมวดปืนเล็กต้องใช้อำนาจการยิงทั้งสิ้นที่มีอยู่ ทั้งเล็งตรงและเล็งจำลองทำการยิงกดข้าศึกไว้ให้ได้นานพอที่จะให้หมวดปืนเล็กเคลื่อนที่ออกจากที่มั่นได้ทั้งหมด
ฉ) การเสริมความมั่นคงและจัดระเบียบใหม่
๑) หมวดปืนเล็ก
-
จัดส่วนระวังป้องกันขึ้นใหม่
-
จัดพลประจำอาวุธที่สำคัญ
-
ปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ และเตรียมส่งกลับสายแพทย์
-
ซ่อมเครื่องกีดขวางที่ชำรุดและวางทุ่นระเบิดเคลย์โม รวมทั้งลวดสะดุดต่าง ๆ ทดแทน
-
เฉลี่ยและแจกจ่ายกระสุน และสิ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ
-
เปลี่ยนที่ตั้งยิงอาวุธสำคัญที่คาดว่าข้าศึกทราบที่ตั้งแล้ว ระหว่างเข้าตี และปรับเปลี่ยนที่มั่นตั้งรับ เพื่อให้สามารถช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้
-
จัดตั้งข่ายการติดต่อสื่อสารขึ้นใหม่
-
เข้าประจำที่มั่นตั้งรับ ปรับปรุงหลุมบุคคล และเตรียมการตั้งรับต่อไป
๒) ผู้บังคับหมู่และหัวหน้าชุดยิง รายงานสถานภาพกระสุน ผู้บาดเจ็บ และเครื่องมือเครื่องใช้ให้ผู้บังคับหมวดทราบ
๓) ผู้บังคับหมวด
-
สถาปนาสายการบังคับบัญชาขึ้นใหม่
-
ดำเนินการเรื่องกระสุน ผู้บาดเจ็บ และเครื่องมือเครื่องใช้แก่หมู่ปืนเล็ก และรายงานสถานภาพให้ผู้บังคับกองร้อยทราบ
๔) รองผู้บังคับหมวด ประสานงานการส่งกำลังเพิ่มเติม และกำกับดูแลการปฏิบัติต่อผู้บาดเจ็บ และเชลยศึกให้เป็นไปตามแผน
๕) หมวดปืนเล็กปรับปรุงที่มั่นตั้งรับต่อไป รีบจัดตั้งที่ตรวจการณ์ ที่ฟังการณ์ และลาดตระเวนตามแผน
๒ - ๑๖ การระวังป้องกัน
ในการตั้งรับ หมวดปืนเล็กจะพยายามใช้การจู่โจมข้าศึก และจะเริ่มการปะทะในลักษณะขัดขวางแผนการปฏิบัติของข้าศึกแต่แรกเพื่อให้มาซึ่งการจู่โจม ทหารราบในแนวที่มั่นตั้งรับต้องไม่ถูกตรวจพบ หากข้าศึกรู้แนวตั้งรับข้าศึกอาจเคลื่อนที่อ้อมผ่าน หรือเข้าโจมตีด้วยกำลังที่มากกว่า หมวดปืนเล็กต้องซ่อนพรางที่ตั้งและความเคลื่อนไหวในการดัดแปลงที่มั่นด้วยเทคนิคการพราง และวินัยการใช้เสียง – แสง หมวดปืนเล็กต้องรับผิดชอบจัดการระวังป้องกันตนเองนับตั้งแต่จบการลาดตระเวนตรวจภูมิประเทศของผู้บังคับหมวดจนกระทั่งถึงดำเนินการตั้งรับ โดยการลาดตระเวน จัดตั้งที่ตรวจการณ์ และกำหนดจำนวนกำลังพลที่เข้าประจำที่มั่นเร่งด่วน ในขณะที่กำลังส่วนใหญ่ดัดแปลงที่มั่นตั้งรับ (บทที่ ๓ จะกล่าวถึงรายละเอียดการลาดตระเวน ตอนที่ ๗ กล่าวถึงเทคนิคการจัดตั้งที่ตรวจการณ์ ส่วนเทคนิคการเข้าประจำที่มั่นเร่งด่วนขณะดัดแปลงภูมิประเทศเตรียมตั้งรับ อาจกำหนดไว้ใน รปจ. ของหน่วยก็ได้)
๒ - ๑๗ ที่บังคับการและการติดต่อสื่อสาร
ผู้บังคับหมวดจัดตั้งที่บังคับการ ณ จุดที่สามารถมองเห็นและควบคุมหมวดได้ดีที่สุด ผู้ตรวจการณ์หน้าและพลวิทยุ/โทรศัพท์อยู่ประจำ ณ ที่บังคับการด้วย ในกรณีที่ไม่สามารถเห็นและควบคุมทั้งหมดจากจุดเดียว ผู้บังคับหมวดจะจัดตั้งที่บังคับการ ณ จุดที่สามารถเห็นและควบคุมการปฏิบัติหลักได้ และจัดตั้งที่บังคับการสำรองสำหรับให้รองผู้บังคับหมวดควบคุมส่วนที่เหลือของหมวด พลเสนารักษ์โดยปกติจะอยู่กับรองผู้บังคับหมวด ที่บังคับการสำรองอาจได้รับการดัดแปลงให้กว้างขวางพร้อมด้วยที่กำบังเหนือศีรษะสำหรับผู้ป่วยเจ็บ และเก็บกระสุนอัตรามูลฐานเพิ่มเติมจากที่ทหารนำติดตัว ที่รวบรวมเชลยศึก สิ่งอุปกรณ์พิเศษ เครื่องมือสร้างเครื่องกีดขวาง และที่รวบรวมศพ (ที่ซ่อนพรางแล้ว) โดยปกติก็จะตั้งอยู่ใกล้ ๆ ที่บังคับการสำรองด้วย การติดต่อสื่อสารจากที่บังคับการหมวดไปยังกองร้อยใช้โทรศัพท์ (หากมีใน อจย.) และวิทยุ จากที่บังคับการสำรองไปยังที่บังคับการหมวดใช้โทรศัพท์เป็นหลัก ภายในหมวดปืนเล็กมีข่ายการติดต่อสื่อสารของตนเองทั้งทางวิทยุและโทรศัพท์ ( รูปที่ ๒ - ๓๗ )
๒ - ๑๘ การใช้อาวุธในการตั้งรับ
ความสำเร็จของการตั้งรับขึ้นอยู่กับการวางกำลังทหาร และระบบอาวุธต่าง ๆ การที่จะสามารถวางระบบอาวุธต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้บังคับหน่วยทุกระดับจะต้องทราบคุณลักษณะ ขีดความสามารถ และขีดจำกัดของอาวุธที่มีอยู่ ผลของลักษณะภูมิประเทศที่มีต่อระบบอาวุธและยุทธวิธีของข้าศึก ผู้บังคับหน่วยควรวางอาวุธยิงไว้ ณ บริเวณที่มีการป้องกันฝ่ายข้าศึกไม่สามารถตรวจการณ์เห็น และสามารถจู่โจมข้าศึกได้ด้วยการยิงที่แม่นยำและอำนาจการทำลายสูง ในการกำหนดที่ตั้งยิงผู้บังคับหมวดต้องรู้ก่อนว่าต้องการทำลายข้าศึก ณ บริเวณใด และต้องการผลการทำลายระดับใด นอกจากนี้ควรรู้ก่อนว่า กำลังหลักของข้าศึกจะเป็นยานเกราะหรือทหารราบเดินเท้า หากเป็นยานเกราะผู้บังคับหมวดต้องวางอาวุธต่อสู้รถถังตามเส้นทางที่คาดว่าข้าศึกน่าจะใช้มากที่สุดเป็นลำดับแรก หากเป็นทหารราบเดินเท้าต้องวางการยิงปืนกลตามแนวทางเคลื่อนที่ที่คาดว่าข้าศึกน่าจะใช้มากที่สุดเป็นลำดับแรก อย่างไรก็ตามผู้บังคับหมวดต้องพิจารณาทั้งสองทางและวางแผนวางอาวุธยิงครอบคลุมทั้งยานเกราะและทหารราบเดินเท้า โดยให้เป็นแผนเผชิญเหตุซึ่งกันและกันได้ ผู้บังคับหมู่วางอาวุธยิงอื่น ๆ ทั้งหมดเพื่อสนับสนุนอาวุธหลักเหล่านี้ โดยให้ครอบคลุมตำบลอับกระสุนและให้ความคุ้มครองอาวุธดังกล่าวเป็นต้น
ก. ปืนกล เป็นอาวุธหลักของหมวดปืนเล็กที่ใช้ยิงต่อทหารราบเดินเท้าของข้าศึก เป็นอาวุธที่มีความเร็วในการยิงสูงพร้อมด้วยความแม่นยำและอำนาจการทำลายรุนแรงพอที่จะสามารถหยุดการเข้าตีของข้าศึกได้ และสามารถกดดันต่อยานเกราะขนาดเบาทำให้พลประจำรถต้องปิดฝาป้อม และต้องปฏิบัติการในสภาพจำกัด ผู้บังคับหมวดวางการยิงปืนกลเพื่อ
- รวมการยิงไปยังบริเวณที่ต้องการสังหารข้าศึก
- ยิงผ่านหน้าแนวตั้งรับของหมวด
- คุ้มครองเครื่องกีดขวางด้วยการยิง
- ประสานการยิงกับหน่วยข้างเคียง
๑) คำจำกัดความที่เกี่ยวกับการใช้ปืนกลในการตั้งรับ
ก) การยิงกวาด
หมายถึงการยิงซึ่งกึ่งกลางของกรวยกระสุนวิถีสูงจากพื้นดินไม่เกิน ๑ เมตร
หรือประมาณระดับเอวคนยืน เมื่อทำการยิงเหนือพื้นซึ่งมีระดับเรียบ
หรือเหนือพื้นที่ลาดซึ่งมีค่าความลาดสม่ำเสมอ จะสามารถยิงกวาดได้ถึงระยะ ๖๐๐ เมตร
ข) พื้นที่อับกระสุน หมายถึง พื้นที่ภายในระยะหวังผลสูงสุดของอาวุธ เครื่องมือเฝ้าตรวจ หรือผู้ตรวจการณ์หน้า ซึ่งไม่สามารถทำการยิง เฝ้าตรวจ หรือตรวจการณ์ได้จากตำบลใดตำบลหนึ่งซึ่งอาวุธ เครื่องมือตรวจการณ์ หรือผู้ตรวจการณ์หน้านั้น ๆ ตั้งอยู่ เนื่องจากมีสิ่งกีดขวาง ลักษณะพื้นดิน ลักษณะของกระสุนวิถี หรือขีดจำกัดในการเล็งของระบบอาวุธ เป็นต้น หมวดปืนเล็กวางการยิงให้ครอบคลุมพื้นที่อับกระสุนด้วยอาวุธยิงเล็งตรงอื่น ๆ M.203 อาวุธยิงเล็งจำลอง หรือเคลย์โมแบบกดระเบิดตามเหตุการณ์ ( Command – detonated
Claymores ) นอกจากนี้ผู้บังคับหมวดควรสนธิแผนการยิงเข้ากับระบบเครื่องกีดขวาง (ทั้งลวดหนามและเคลย์โม) บริเวณพื้นที่อับกระสุน และอาจจัดตั้งที่ตรวจการณ์เพื่อเฝ้าตรวจพื้นที่อับกระสุนให้กับที่มั่นข้างเคียงด้วยก็ได้
ค) แนวยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย (final
protective Line – FPL) หมายถึงแนวที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อการยิงสกัดการเข้าโจมตีของข้าศึก หากลักษณะภูมิประเทศอำนวย ผู้บังคับหมวดจะกำหนดให้ปืนกล ๑ กระบอก ทำการยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้าย ๑ แนว ทันทีที่นำปืนกลเข้าที่ตั้งยิงต้องทำการตรวจแนวยิง เพื่อหาพื้นที่อับกระสุน และพื้นที่ยิงกวาด โดยให้ทหาร ๑ คน เดินตามแนวยิงจากปากกระบอกปืนออกไปจนสุดระยะ (รูปที่ ๒ - ๓๔ )
ง) ทิศทางยิงหลัก (principle
direction of fire PDF ) หมายถึงทิศทางที่มีลำดับความเร่งด่วนในการยิงสูง กำหนดให้ทำการยิงไปยังพื้นที่ซึ่งมีพื้นการยิงดี หรือไปยังแนวทางเคลื่อนที่ซึ่งคาดว่าข้าศึกน่าจะใช้ รวมทั้งให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างหน่วยข้างเคียงด้วย หากไม่สามารถกำหนดแนวยิงฉากป้องกันขั้นสุดท้ายได้ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศไม่อำนวย อาวุธจะวางการยิงตามแนวทิศทางยิงหลัก และในระหว่างที่ยังไม่มีเป้าหมายอื่นใดเกิดขึ้นนอกแนวทิศทางยิงหลักนี้อาวุธจะยังคงวางการยิงตามแนวนี้ตลอดเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น